การจัดกิจกรรมกลางแจ้งเชื่อมโยงภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ญาดา เกิดสุข
พัศมณฉัตร ปาคุต
สุมิตรา แสงอุทัย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งเชื่อมโยงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านโพธิ์มูลเพียเภ้า ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 จำนวน 10 คน ใช้ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องมือวัด ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที เครื่องมือทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมกลางแจ้งเชื่อมโยงภาษาอังกฤษ จำนวน 24 กิจกรรม และ2) สื่อประกอบการเล่นกิจกรรมกลางแจ้งผลการวิจัย พบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งเชื่อมโยงภาษาอังกฤษ มีการพัฒนาความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ที่ดียิ่งขึ้น พิจารณาจากผลคะแนนรวมเฉลี่ยความสามารถในการเข้าใจภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยที่สูงขึ้นหลังจากทดลอง 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อน และหลังการจัดกิจกรรมกลางแจ้งเชื่อมโยงภาษาอังกฤษ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษเท่ากับ 44.1 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษเท่ากับ 55.4 มีแนวโน้มคะแนนสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จานุรักษ์ อิสระเสนีย์. (2551). การศึกษาความสามารถและแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐานโดยใช้อรรถลักษณะของการเล่านิทาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอน ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี.

จิตราภรณ์ ไคขุนทด. (2555). การจัดกิจกรรมกลางแจ้งโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านแบบร่วมมือที่มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฌลาธิป เหรียญทอง. (2550). ผลการเรียนรู้ทางด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการเล่านิทานประกอบภาพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ไทย ทิพย์สุวรรณกุล และคณะ. (2551). การวัดและการประเมินผล:กลุ่มวิชาเตรียมประสบการณ์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธัญวรัตน์ โหสุภา. (2559). ผลของการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนากร เทียมทัน. (2557). การพัฒนาพฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งโดยใช้วัสดุท้องถิ่น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการจัดการการปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

บุปผา พรหมศร. (2542). ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งและกิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นสนาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พรพิมล บัวผดุง. ผลของการใช้คำคล้องจองภาษาไทยประกอบคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งสีเสียด อำเภอบางสะพานน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2), 655-664.

วิทวัส แทนสิริ.(2559). ความสามารถการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรม.ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลักคะณา เสโนฤทธิ์. (2551). ผลของการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิรินทร์ หวังสงวนกิจ. (2555). ผลของการใช้กิจกรรมเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์ของนักเรียนอนุบาล. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

สินดี จำเริญนุสิต. (2558). โอกาสทองของการเรียนรู้หน้าต่างแห่งโอกาส. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2564). จาก http://contestwar.com/download/file/fid/8074(ออนไลน์)

สุมาลี บัวหลวง. (2557). ผลของการใช้เกมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อพฤติกรรมร่วมมือของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุเทพ บุญศิริ. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งแบบร่วมมือที่มีต่อพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านห้วยทราย จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการจัดการการปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกรมสุขภาพจิต. (2549). คู่มือเสริมสร้างไอคิวและอีคิวเด็กวัยแรกเกิด-5 ปี สำหรับพ่อแม่/ผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). คู่มือการจัดกิจกรรมเกมและการเล่นกลางแจ้งสำหรับเด็กระดับก่อนประถมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว

อรณภัทร มากทรัพย์ และคณะ.(2564). ผลการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาธรรมชาติร่วมกับเทคนิคการสลับภาษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการฟังและการพูดสำหรับเด็กวัยอนุบาล. Journal of Education Burapha University, 32(2), 60-75.

อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 7(2), 303-314.

Bedi, J. (2010). Performance assessments for English language learners. Stanford: Stanford University.

Cameron, L. (2001). Teaching languages to young learners. Cambridge: Cambridge University Press.

Grain, R., & Redman, S. (1990). Working with words: A guide to teaching and learning vocabulary. New York: Cambridge University Press.

Hedge, T. (2000). Teaching and learning in the language classroom. Oxford: Oxford University Press.

Krashen, D. S., & Terrel, D. T. (2000). The natural approach: Language acquisition in the Classroom. London: Prentice Hall.

Linse, T. C. (2005). Practical English language teaching: young learners. New York: McGraw-Hil

Llach, P. A., & Gómez, A. B. (2007). Children’s characteristics in vocabulary acquisition and use in the written production. RESLA, (20), 9-26

Lubelska, D., & Matthews, M. (1997). Looking Al Language Classrooms: Trainer's Guide. Cambridge: Cambridge University Press.

May, C. P., & Einstein, G. O. (2003). MEMORY: A Five-Day Unit Lesson Plan for High School Psychology Teacher. U.S.A.: American Psychological Association.

Mckay, P. (2006). Assessing young language learners. Cambridge: Cambridge University Press.

Moon, J. (2000). Children learning English. U.K.: Macmillan

Nation, P. (1990). Teaching and learning vocabulary. New York: Heinle and Heinle.

Ormrod, J. E. (1998). Educational psychology: Developing learners. Columbus: Prentice Hall.

Pinter, A. (2006). Teaching young language learners. New York: Oxford University Press.

Rea-Dickins, P., & Gardner, S. (2000). Snares and silver bullets: disentangling the construct of formative assessment. Language Testing, 17(2), 215-243

Richards, J. C., & Schmidt, R. (2002). Longman dictionary of language teaching and applied linguistics (3rd ed.). London: Pearson Education.