การส่งเสริมทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบ

Main Article Content

อรพิมล ภักดี
นันทิตา โสภาพิศ
พัศมณฉัตร ปาคุต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบและเพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 10 คน ของโรงเรียนบ้านโพธิ์มูลเพียเภ้า เป็นการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 1 ห้องเรียน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ได้แก่ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 30 นาที เวลา 09.00 – 09.30 น. จำนวน 24 ครั้ง เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา IOC ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test for Dependent Samples  ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบ จำนวน 24 ครั้ง มีทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ดียิ่งขึ้น พิจารณาจากผลคะแนนรวมเฉลี่ยทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยที่สูงขึ้นหลังจากทดลอง 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย เท่ากับ 24.90 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย เท่ากับ 46.50 มีแนวโน้มคะแนนสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นฤมล เฉียบแหลม.(2555). การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบธรรมชาติ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บ้านจอมยุทธ. (2565). ทฤษฎี Psychosocial developmental stage ของอิริคสัน. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565). จาก https://mali.me/eyfeed/piagets-theory-of-cognitive-development/?cn-reloaded=1

พัฒน์นรี จันทราภิรมย์. (2559). การศึกษาผลของการใช้นิทานเพื่อพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภัทรี บางเดือนกิจ. (2562). พัฒนากล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงโดยใช้ศิลปะการปั้น. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

สุดารัตน์ จาดจีน. (2555). พฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านอุมลอง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุไรวรรณ มาตมุงคุณ. (2554). พัฒนาการด้านการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะจากงานกระดาษ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall.

LingoAce. (2564). Learning by doing รูปแบบการเรียนรู้ที่ให้เด็กๆมีความสุขจากการลงมือทำ. สัน. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565). จาก https://www.lingoace.com/th/learning-by-doing/

Mali. (2565). ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์. สัน. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565). จาก https://mali.me/eyfeed/piagets-theory-of-cognitive-development/?cn-reloaded=1