การพัฒนาระบบบริหารจัดการนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
สุดารัตน์นิสรีน อุไรวรรณ
อาภาภรณ์  พิชยาณัณต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนิเทศการสอนในสถานศึกษา 2) พัฒนาระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษาและ 3)ประเมินประสิทธิผลของระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้าวิชาการ และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 310 คน โดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan เก็บรวบรวมข้อมูลมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการนิเทศการสอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 มีสภาพการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่ประเด็นที่ยังมีสภาพปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย และควรนำไปสู่การพัฒนาระบบคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการนิเทศการสอน การรักษามาตรฐานการนิเทศการสอนให้เป็นในรูปแบบเดียวกัน และการลดการใช้กระดาษ รวมถึงการประมวลผลที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น 2) การประเมินประสิทธิผลของระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่า มีประสิทธิผล อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดเก็บข้อมูล มีประสิทธิผลสูงสุด 3) ความพึงพอใจในการใช้ระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา พบว่าด้านประสิทธิภาพของระบบตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ และสถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา สมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก

Nonthaburi

References

ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ. (2558). การสอนแบบทันสมัยและเทคนิควิธีสอนแนวใหม่. (Online). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2565. จาก http://regis.skru.ac.th/RegisWeb/datafiledownload/ 2559071

คมสันต์ ประจําจิตร. (2562). การบริหารระบบสารสนเทศ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(1), 1-17.

คู่มือการพัฒนาและปรับปรุง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (งานบริการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบงานสารสนเทศ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. (Online). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566. จาก: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http ://km.moi.go.th/km/51_PMQA_6/support59/sup5_1.pdf.

พุทธชาด แสนอุบล. (2561). สภาพปัญหาและแนวทางการปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(70), 171-182.

มัทนียา นะตะ. (2554). ความต้องการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา อำเภอกมลาไสย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วันทนา เมืองจันทร์ มานัส เกิดแย้ม เต็มจิต จันทคา ชิดชัย ช่างสมบูรณ์ อรทัย หอม เนียม และกิติเดช จันทรศรีวงศ์. (2548). การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ศุภรัตน์ จิระโสภา,โสภณ เพ็ชรพวง และนัฎจรีย์ เจริญสุข. (2564). การพัฒนาคู่มือการนิเทศภายใน ของโรงเรียนในเครือข่ายท่าฉาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ ธานี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 18(80), 23.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2565). ข้อมูลทั่วไป. (Online). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2565. จาก : https://www.surat3.go.th

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการดำเนินงานพลิกโฉมการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. (Online). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566. จาก: https://drive.google.com/file/d/14DWU6X9M qUPeSt761qKRHI1SPqQoGbG6/view.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตาม กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัด การศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การนิเทศภายใน. (Online). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2565 จาก: http://www.sisaketedu1.go.th/news/wp-content/uploads/202 0/07/2

สุชาดา กีระนันทน์. (2551). เทคโนโลยีสถิติ : ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร แช่ลี่. (2563). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน อำเภอสะเดา สังกัดนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อนุศิษฏ์ นากแก้วและคณะ. (2564). การนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(6), 85-86.

Acheson, Keith A., & Gall, Meredith. (2003). Clinical supervision and teacher development perservice and inservice applications. S.A.: John Wiley & Sons, Inc,.

Burcu Altun and Pınar Yengin Sarpkaya. (2020). The actors of teacher supervision. International Journal of Human Sciences, 17(1).

Burton, W. H. and Brueckner, L.J. (1995). Supervision : Associate Process. New York: Appleton Century Crofts.

Gall Borg and Gall. (1996). Educational research and introduction (thea). New York: Longman Publishers.

Glickman, Carl D,. Gordon, Stephen P., & Ross-Gordon. Jovita M. (2010). Supervision and instructional leadership : A Developmental approach. (8th ed.) Boston: Allyn and Bacon. Inc.