การพัฒนาชุมชนต้นแบบข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
การพัฒนาชุมชนต้นแบบข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การพัฒนาชุมชน, ชุมชนต้นแบบ, ข้าวอินทรีย์, ผู้ปลูกข้าวในจังหวัดเชียงรายบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุมชนต้นแบบข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และพัฒนากลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายให้เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยศึกษาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย มีกระบวนการในการพัฒนาประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเตรียมการ 2) ขั้นตอนการวางแผน 3) ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา 4) ขั้นตอนการสะท้อนผลการดำเนินการแก่กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีการปลูกข้าวแบบเคมี ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาขาดทุน คณะผู้วิจัยจัดได้วางแผนและดำเนินการขั้นตอนการพัฒนาโดยจัดโครงการฝึกอบรมทั้งในภาคทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการ จำนวน 5 หัวข้อ ซึ่งผลการประเมินพบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการจัดอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.34 สำหรับด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ในภาพรวม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจจากการจัดอบรมในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 รวมถึงมีการจัดประชุมกลุ่ม โดยการวางแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มร่วมกัน และยังมีการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมที่จะช่วยในการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ประกอบด้วยประเด็นในการประชุม ได้แก่ 1) ข้อมูลชุมชน 2) การศึกษาชุมชนและวิเคราะห์สภาพปัญหา 3) การจัดตั้งกลุ่มข้าวอินทรีย์ในชุมชน และแนวทางการจัดกิจกรรมของกลุ่ม ส่งผลให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตข้าวอินทรีย์ ได้มีการรวมกลุ่มที่จะช่วยสนับสนุนการผลิตข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ กลุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนและกลุ่มปุ๋ยหมักอินทรีย์
จากการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ทำให้ชุมชน บ้านน้ำแพร่ใต้ หมู่ 19 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ได้รับเลือกเป็นสถานที่จัดงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีเริ่มต้นฤดูผลิตใหม่ หรือวัน Field Day 2018
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิตราภรณ์ สงค์ประเสริฐ. (2551). วิธีการส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงของ
เกษตรกรในตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
จำนงค์ จุลเอียด. (2552). การฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้นต่อสัมฤทธิ์ผล
ในการปฏิบัติตามหลักเกษตรอินทรีย์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(2) 114-125.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 15 ปี
(พศ. 2555 – 2569). สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560 จาก https://planning2.mju.ac.th /goverment/20111119104835_planning/File20130924155549_15994.pdf.
ยุธยา อยู่เย็น และคณะ. (2555). การพัฒนาการทำนาข้าวอินทรีย์ชุมชนตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 6(2), 186.
สุชาติ กลิ่นจุ่ม (2553). การยอมรับในการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตกรในเขตพื้นที่ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุริยะ ชนะชัย. 2553. การพัฒนารูปแบบการทำเกษตรอินทรีย์ครัวเรือนชนบทลุ่มแม่น้ำโขงบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรกรรมยั่งยืน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์.
สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร. (2560). เกษตรอินทรีย์คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560 จาก http://www.chumphon.doae.go.th/sara/orgarnic.htm.
Best, J. W. (1981). Research in Education. (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร