ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของพนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา

ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของพนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • มุกดา ขวัญกลาง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ปฏิมา ถนิมกาญจน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

บรรยากาศองค์กร, องค์กรแห่งการเรียนรู้, เทศบาลนครนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา จำนวน 250 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและวิธีการ
สุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าบรรยากาศองค์กรของพนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของพนักงานเทศบาลนครนครราชสีมาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับการเป็นองค์กรแห่ง
การเรียนรู้ของพนักงานเทศบาลนครนครราชสีมาพบว่า บรรยากาศองค์กรมีความสัมพันธ์ในระดับสูงและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Author Biographies

มุกดา ขวัญกลาง, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ปฏิมา ถนิมกาญจน์, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

References

ทัศนา สุขเปี่ยม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตามการรับรู้ของบรรณารักษ์. วารสารบรรณศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 6(2), 16-30.
นุชนาฏ หินอ่อน. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แผนพัฒนาเทศบาลนครนครราชสีมา. (2562). โครงสร้างอัตรากำลังและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานของเทศบาล. นครราชสีมา: แผนงานเทศบาลนครนครราชสีมา.
มสารัตน์ วรรณทิพภากรณ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์กรกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์.
ลลิต ถนอมสิงห์. (2557). หลักการทรงงานและองค์กรแห่งการเรียนรู้นําไปสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 9(1), 1-22.
สกล บุญสิน. (2555). การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจการให้บริการ กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 35(133), 41-66.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่12. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
อัจฉรา รักพงษ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับการพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชัน ซิสเทม จำกัด (เทสโก้ โลตัสสาขามีนบุรี). วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Litwin, G. H. & Stringer, R. A. (1968). Motivation and Organizational Climate. Boston: Harvard University.
Lussier, R. N. (2007). Organizational Climate. Human Relations in Organizations:
Applicational and Skill Building. (6th ed.). New York: McGraw Hill.
Senge, P. M. (1994). The Fifth Discipline: The Art and Practice of Learning Organization. New York: Doubleday.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2020-07-12