ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานโรงพยาบาลเอกชน ABC ในจังหวัดนครราชสีมา

ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานโรงพยาบาลเอกชน ABC ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ ต้อยหมื่นไวย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • อัมพาพร ลีลามโนธรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร, ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงพยาบาลเอกชน ABC ในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พนักงานประจำ โรงพยาบาลเอกชน ABC โดยมีอายุการทำงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป สูตรการหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง (บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร, 2553) ที่มีระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูลจากการแจกแบบสอบถาม ผู้วิจัยจึงเพิ่มกลุ่มประชากรเป็นจำนวนร้อยละ 20 รวมทั้งหมดเป็นจำนวน 275 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้สถิติการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับกลางและทิศทางเดียวกันกับความผูกพันต่อองค์กร (r = .64) โดยวัฒนธรรมองค์กรแต่ละด้าน
มีรายละเอียดดังนี้ วัฒนธรรมองค์กรแบบเครือญาติมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความผูกพันต่อองค์กรในระดับกลาง (r = .57) รองลงมา คือ วัฒนธรรมองค์กรแบบ มุ่งผลสำเร็จ (r = .53) วัฒนธรรมองค์กรแบบปรับตัว (r = .44) และวัฒนธรรมองค์กรแบบราชการ (r = .34) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Author Biographies

พรทิพย์ ต้อยหมื่นไวย, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

อัมพาพร ลีลามโนธรรม, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

References

กิจลดา สุรัสโม. (2557). วัฒนธรรมองค์กร: ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 2(2), 1-12.
ขจิตรพร คมขำ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กร: กรณีศึกษาบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี.
ชิดชนก แตงอ่อน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงพยาบาลวิภาวดีกับการแสดงพฤติกรรมด้านสมรรถนะหลัก. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ:
ยู แอนด์ ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.
รัตนสุคนธ์ สมนึก. (2557). ความสัมพันธ์ของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันกับองค์การ: กรณีศึกษากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
รุ่งทิวา สมตน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงพยาบาล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สวรรยา ศรีสันติสุขและธีรพงษ์ บุญรักษา. (2561). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของแรงงานชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมนุษยศาสตร์, 11(1), 68-69.
สินีนาฏ เสริมชีพ. (2561). บทบาทของภาคบริการกับการพัฒนาประเทศยุค Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก http://www.thansettakij.com/content.
อนุพงษ์ อินฟ้าแสง. (2559). วัฒนธรรมองค์กร: ปัจจัยสู่ความสำเร็จ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์
อิสเทอร์น, 10(4), 35-46.
Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The Measurement and Antecedent of Affective, Continuance and Normative Commitment to the Organization Commitment. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.
Belias, D. & Koustelios, A. (2015). Culture: Organizational Culture and Job Satisfaction of Greek Banking Institutions. Journal of Social and Behavioral Sciences, 175(2), 314-323.
Daft, R. L. (2001). Organization Theory and Design. USA: South-Western College Publishing.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2020-07-12