ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Grab Taxi ของผู้ใช้บริการในจังหวัดอุบลราชธานี
ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Grab Taxi ของผู้ใช้บริการในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ปัจจัยทางการตลาด, การตัดสินใจของผู้บริโภค, แกร็บแท็กซี่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแกร็บ
แท็กซี่ของผู้ใช้บริการในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 384 คน ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการแกร็บแท็กซี่ในจังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของแบบสอบถามทั้งชุด เท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดต่อการตัดสินใจใช้บริการแกร็บแท็กซี่ในจังหวัดอุบลราชธานีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านราคามีความสำคัญต่อการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านบุคลากร และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ
- การตัดสินใจใช้บริการแกร็บแท็กซี่ของผู้ใช้บริการในจังหวัดอุบลราชธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การเลือกใช้บริการเพื่อทดแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว มีความสำคัญต่อการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ โอกาสในการกลับมาใช้บริการแกร็บแท็กซี่ในโอกาสต่อไป และ การเลือกใช้บริการเพื่อความสะดวกในการเดินทาง ตามลำดับ
ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแกร็บแท็กซี่ของผู้ใช้บริการในจังหวัดอุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับสถิติ .05 มีจำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านบุคลากร และ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ
References
กมล สภาระเศรณี และ อภิวรรตน์ กรมเมือง. (2560). การตัดสินใจใช้บริการแท็กซี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและจัดการ, 7(1), 86–98.
โชติมา ชูกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอพลิเคชั่นเรียกรถยนต์โดยสารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
ชนิตา แหลมคม และกุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น Grab ของผู้โดยสารในเขตภาคกลาง. วารสารการบริหารและการจัดการ, 8(2), 151–174.
ตะวัน ตันชาลี. (2561). ข้อจำกัดทางกฎหมายและทางเลือกของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ: กรณีอูเบอร์และแกร๊บคาร์. ในสมชาย ปรีชาศิลปะกุล (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการสาขานิติศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 “ระบบกฎหมายไทย: ปฏิรูป/เปลี่ยนผ่าน/ปฏิสังขรณ์” (151–166). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนดล แก้วนคร. (2558). อิทธิพลของเทคโนโลยี ส่วนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์ทำให้เกิดการตัดสินใจใช้บริการ Grab Taxi. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฺฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธำรง อุดมไพจิตรกุล. (2547). เศรษฐศาสตร์การจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุสีริยาสาส์น.
ประชาชาติธุรกิจ. (2561). อุบลฯ ทุ่มงบฯ 7 พันล้านชูกีฬาสร้างเมืองผงาดผู้นำอีสานตอนล่าง2 ว่าที่เจ้าภาพซีเกมส์ปี 2568. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562 จาก https://www.prachachat.net/ local-economy/news-103617.
พงศกร ง่วนสำอาง. (2560). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการใช้แอปพลิเคชั่นแท็กซี่. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภัทรา มหามงคล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือของธนาคารกสิกรไทย จํากัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2562). แนวทางการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). จำนวนประชากรจังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561
จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/51.htm.
สุวิภา รักษ์วงศ์ตระกูล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการเรียกรถโดยสาร Taxi
ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น Grab ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอกสิทธิ์ เลาะมิง และคณะ. (2554). การยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อการพัฒนาชุมชน. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 101– 10.
อนันต์ โพธิกุล. (2558). การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(1), 17–27.
เอกวัฒน์ พันธาสุ และ มนสิชา เพชรานนท์. (2554). พฤติกรรมการเดินทางในเมืองหลักของภูมิภาค: กรณีศึกษา เมืองเชียงใหม่. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10, 74–91.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607–610.
Kotler, P. & Keller, K. (2016).Marketing Management. (15th ed.). NewJersey: Pearson Education.
Nunnally, J. C. (1978). Educational Measurement and Evaluation. (2nd ed). New York: McGraw-Hill.
Plunkett, W. R. & Attner, R. F. (1994). Introduction to Management. Belmont, Calif: Wadsworth.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร