ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสำนักงานสอบบัญชีของบริษัทจำกัด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสำนักงานสอบบัญชีของบริษัทจำกัด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2

ผู้แต่ง

  • ประไพพิศ เลียบสื่อตระกูล คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • บดินทร์ภัทร์ สุนบุญรัตน์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ก้องเกียรติ สหายรักษ์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การเลือกใช้บริการสำนักงานสอบบัญชี, สำนักงานสอบบัญชี, บริษัทจำกัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในรูปแบบบริษัทจำกัด และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสำนักงานสอบบัญชีของบริษัทจำกัด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ โดยทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานสอบบัญชี ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถของผู้สอบบัญชีและทีมงาน 2) ปัจจัยด้านคุณภาพการสอบบัญชี
3) ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร และ 4) ปัจจัยด้านค่าธรรมเนียมวิชาชีพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัทจำกัด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ที่ได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีจำนวนประชากร 5,522 บริษัท ขนาดตัวอย่างกำหนดได้โดยใช้ตารางขนาดตัวอย่าง ของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 จำนวนทั้งสิ้น 361 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของบริษัทใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 ผลการวิเคราะห์ความถดถอยพหุเชิงซ้อน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานสอบบัญชีของบริษัทจำกัด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 มีจำนวน 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถของผู้สอบบัญชีและทีมงาน (Sig = .009) และ ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารกับผู้สอบบัญชี
(Sig = .001) ส่วนปัจจัยด้านคุณภาพงานสอบบัญชีและปัจจัยด้านค่าธรรมเนียมวิชาชีพไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ

Author Biographies

ประไพพิศ เลียบสื่อตระกูล, คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

บดินทร์ภัทร์ สุนบุญรัตน์, คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ก้องเกียรติ สหายรักษ์, คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2561). ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบริษัท จำกัด จังหวัดยโสธร. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561 จาก https://www.dbd.go.th/yasothon.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2561). ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบริษัท จำกัด จังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560 จาก https://www.dbd.go.th/sisaket.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2561). ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบริษัท จำกัด จังหวัดอำนาจเจริญ. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.dbd.go.th/amnatcharoen.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2561). ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบริษัท จำกัด จังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.dbd.go.th/ ubonratchathani.
ธนกร วรกิตติมงคล. (2553). พฤติกรรมในการเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีของผู้ประกอบการใ
นเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิชากานต์ ตันติมาสน์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ของบริษัทจำกัดในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
ระวีวรรณ แก้ววิทย์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วลัยลักษณ์ สุวรรณวลัยกร. (2556). ความคาดหวังและความพร้อมของวิชาชีพสอบบัญชีไทยในการแข่งขัน
ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 9(25), 35-49.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2561 จาก http://www.tfac.or.th/upload/9414/SutEp9ZNKe.pdf.
อันธิกา สังข์เกี้อ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานสอบบัญชีของบริษัทจำกัดในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Aaker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing Research. New York: Wiley.
Best, J. W. (1981). Research in Education. (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Denise D. & Higgs, J. L.(2006). Shopping for an auditor. The Journal of corporate Accounting and Finance, 13(4), 9-15.
Kirkos, E., Spathis, C. & Manolopoulos, Y. (2007). Data Mining Techniques for the Detection of Fraudulent Financial Statements. Expert Systems with Applications, 32(4), 995-1003.
Knechel, W. R., Niemi, L. & Sundgren, S. (2008). Determinants of Auditor Choice: Evidence from a Small Client Market. International Journal of Auditing, 12(1), 65-88.
Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(1), 49-60.
Streiner, D. L. & Norman, G. R. (1995). Health Measurement Scales: A Practical Guide To Their Development and Use. (2 nd ed). Oxford: Oxford University Press.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2020-07-12