ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ โรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • รัตนภรณ์ แซ่ลี้ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรงพยาบาลเอกชน, ปัจจัยด้านการตลาด, กระบวนการตัดสินใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี

 

ริการกค้าก็จะทำให้เกิดความสามารถทางการแข่งขันได้ดีารได้ตรงกับความคาดหวังของลูกค้าก็จะทำให้เกิดความสาม่รนธุรกิจบรการจึงมีความสำค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ที่เคยใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล มีค่าสัมประสิทธิ์ของแบบสอบถามทั้งชุด เท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี มีจำนวนมากที่สุด ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด
มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ/ข้าราชการ และรายได้ของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง 25,001 บาทขึ้นไป โดยปัจจัยทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านในภาพรวม พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีความสำคัญต่อการตัดสินใจใช้บริการในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย  และด้านกระบวนการ ตามลำดับ และปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยของความสำคัญต่อการตัดสินใจต่ำที่สุดคือ
ด้านการส่งเสริมการตลาด

Author Biography

รัตนภรณ์ แซ่ลี้, คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). บทวิเคราะห์ธุรกิจโรงพยาบาลและสถานพยาบาล ประจำเดือนมีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2562 จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/
Statisic/2562/T26/T26_201903.pdf.
ปัญจพล เหล่าทา ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร และเสาวภา มีถาวรกุล. (2562). กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วยใน ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(1), 9-17.
วิจัยกรุงศรี. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-64 “ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน”. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562 จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/42e5f42d-4465-4304-92af-60e3c2539460/IO_Private_Hospital_190218_TH_EX.aspx?fbclid=IwAR0rcvNrRoMrDarRB_b9HGhKhLa9mPBmj3s52B8MXsiT2-f4MlTHahv6BtQ.
วิชัย อุระอิต. (2562). คุณภาพการให้บริการของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(1), 107-119.
สำนักงานสถิติ จังหวัดอุบลราชธานี. (2559). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ: จังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562 จาก http://ubon.nso.go.th/images/
infographic2560/1-2560.pdf.
Al-Qarni, A. A., Alsharqi, O. Z., Qalai, D. A. & Kadi, N. (2013). The Impact of Marketing Mix Strategy on Hospitals Performance Measured by Patient Satisfaction: An Empirical Investigation on Jeddah Private Sector Hospital Senior Managers Perspective.
International Journal of Marketing Studies, 5(6), 210.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.
Ugolini, M., Rossato, C. & Baccarani, C. (2014). A five-Senses Perspective to Quality in Hospitals. The TQM Journal, 26(3), 284-299.
Zheng, S., Hui, S. F. & Yang, Z. (2017). Hospital Trust or Doctor Trust? A Fuzzy Analysis of Trust in the Health Care Setting. Journal of Business Research, 78, 217-225.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2020-07-12