สภาพส่วนประสมทางการตลาดของสินค้า OTOP ประเภทเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย จังหวัดนราธิวาส กรณีศึกษา กลุ่มผ้าบาติก จังหวัดนราธิวาส
สภาพส่วนประสมทางการตลาดของสินค้า OTOP ประเภทเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย จังหวัดนราธิวาส กรณีศึกษา กลุ่มผ้าบาติก จังหวัดนราธิวาส
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, สินค้า OTOP, ประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย, กลุ่มผ้าบาติกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบาย ผลการศึกษาสภาพส่วนประสมทางการตลาดของสินค้า OTOP ประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดนราธิวาส กรณีศึกษา กลุ่มผ้าบาติก จังหวัดนราธิวาส
โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้นำกลุ่ม 5 คน จากกลุ่มผ้าบาติก 5 กลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในจังหวัดนราธิวาส โดยมีการดำเนินกิจการมาเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี และมีสภาพการดำเนินกิจการที่แตกต่างกันเพื่อเป็นตัวแทนของการใช้ส่วนประสมทางการตลาดในการดำเนินกิจการ เมื่อทำการเก็บข้อมูลเพียงพอแล้ว ผู้วิจัยจะนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่และคัดเลือกให้สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ได้ นอกจากนี้ข้อมูลในระดับทุติยภูมินั้น จะเก็บรวบรวมจากเอกสารที่มีความหลากหลายและมีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องการจะศึกษา ในการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นข้อมูลปฐมภูมิ คือ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งนำมาตีความ (Interpretive) ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ให้ความสำคัญตามลำดับ คือ กลุ่มผ้าบาติกให้ความสำคัญกับการออกแบบลวดลาย รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย 2) ด้านราคา ให้ความสำคัญตามลำดับ คือ การตั้งราคาจากต้นทุนต่อชิ้นของผลิตภัณฑ์ การตั้งราคาตามเงื่อนไขคำสั่งซื้อ 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ให้ความสำคัญตามลำดับ คือ การเปิดหน้าร้านในจุดเดียวกับที่ทำการผลิตผ้าบาติกของกลุ่ม การขายผ่านออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ การออกร้านกับภาครัฐไปยังพื้นที่ต่าง ๆ 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด การลดราคากับลูกค้าที่เป็นลูกค้าประจำ
การลดราคากับลูกค้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงิน
References
เฉลิมพล ธารประเสริฐ. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มอาชีพผลิตผ้าย้อมสีธรรมชาติ
เพื่อพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ กรณีศึกษา: เทศบาลตำบลตาลเลียน อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชลพรรษ แก้วใหม่. (2557). แรงบันดาลใจจากบาติก. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รจนา จันทราสา กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์ และภานุ พัฒนปณิธิพงศ์. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง กรณีศึกษาและพัฒนาเอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียงเพื่อประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติก เพื่อพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์หัตกรรมของที่ระลึกจังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ฤธรรมรง ปลัดสงคราม. (2556). บาติกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562 จาก http://ruethamrong.blogspot.com/2012/01/blog-post_832.html.
ไทยตำบล ดอท คอม. (2557). ผลิตภัณฑ์ OTOP Product Champion ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562 จาก http://www.thaitambon.com.
สุวิตา แก้วอารีลาภ และปรัชญา กฤษณะพันธ์. (2561). กระบวนการสร้างสรรค์คอเลคชั่นผ้าบาติก. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 3245-3260.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู. (2562). OTOP. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562 จากhttp://nongbua.cdd.go.th/otop.
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2562). พลิ้วไหวบาติกเมืองใต้. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2562 จาก http://ocac.go.th.
ศรีสุดา ลีลาสุวัฒน์ พสชนันท์ บุญช่วย และณัฐปภัสร์ เทียนจันทร์. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง
แนวทางการพัฒนา OTOP สู่สากล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
บุญเลิศ ธีระตระกูล และคณะ. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง ผลการวิจัยตลาดแรงงาน ปี 2554-2555. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
ศิกานต์ อิสระชัยยศ. (2559). การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น: ประสบการณ์นานาชาติและทางเลือกเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 14(1), 72-98.
โศภล ศุภวิริยากร. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อผ้าบาติก
ในจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่. ภูเก็ต: กองทุนวิจัยคณะวิเทศศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตภูเก็ต.
อริณ เมืองสมบัติ และหควณ ชูเพ็ญ. (2554). ความสำเร็จในการบริหารจัดการอาชีพกลุ่มอาชีพทำผ้าบาติก เทศบาลตำบลหนองจอก. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(2), 30-42.
อัปศร อีซอ ปวีณา เจะอารง และภูตรา อาแล. (2559). การถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการตลาด
ของธุรกิจโอทอประดับ 5 ดาว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิทยาการจัดการ, 3(1),
63-82.
เอกสิทธิ โอมณี. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ประเภทอาหารใน
จังหวัดสตูล. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 79-88.
Borchalina, T. (2012). Marketing Strategy and the Development of Batik Trusmi in the Regency of Cirebon which Used Natural Coloring Matters. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 169(2015), 217-226.
Nordin R. & Abu Bakar S. (2012). Malaysian Batik Industry: Protecting Local Batik Design Bycopyright And Industrial Design Laws. International Journal of Business and Society, 13(2), 117-132.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร