โอกาสในการสร้างธุรกิจและการพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต กรณีศึกษา นักศึกษาสาขาการเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

โอกาสในการสร้างธุรกิจและการพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต กรณีศึกษา นักศึกษาสาขาการเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เสกสรรค์ มณีธร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • พัชรินทร์ อุดมจรัสเดช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • รัชนี เสาร์แก้ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเป็นผู้ประกอบการ, การสร้างธุรกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสในการสร้างธุรกิจของนักศึกษาและการพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาการเป็นผู้ประกอบการ ชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา โครงงานการเป็นผู้ประกอบการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ทั้งหมู่เรียน จำนวน 30 คน แบ่งเป็นโครงงานธุรกิจ
12 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า มีธุรกิจที่สามารถพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการได้ 2 ธุรกิจ ได้แก่ ต. เนื้อย่าง (ธุรกิจเฟรนไชส์) และ ตุ๊กตาบิ๊กไซด์มาตรฐาน ม.อ.ก (ธุรกิจออนไลน์)

ผลการศึกษาพบว่าประเด็นสำคัญที่ทำให้ทั้งสองธุรกิจประสบความสำเร็จคือ 1) ด้านการจัดการ
มีการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง และช่องทางในการจำหน่ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
มีการบริหารจัดการและการจัดแบ่งหน้าที่งานในกลุ่มธุรกิจที่ชัดเจนเหมาะสม สามารถบริหารจัดการให้มีสินค้าเพียงพอต่อการขายสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง มีการค้นหาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อนำเสนอให้กับลูกค้าเป้าหมายและมีพัฒนาการในการประกอบการที่ดีขึ้นตามลำดับ 2) ด้านการตลาดและการขาย มีการจัดการตลาดและการส่งเสริมการขายที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สามารถจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง งบประมาณที่ใช้ในด้านการตลาดนำมาซึ่งยอดขายได้จริง และมีผลกำไรจากการขายสินค้าเพิ่มขึ้น 3) ด้านการจัดการเงินทุน มีการบริหารและการใช้เงินทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการควบคุมงบประมาณ รายรับ รายจ่าย การจัดสรรงบประมาณภายในธุรกิจที่เหมาะสม ครอบคลุมทุกรายการใช้จ่าย มีการ
วางแผนการใช้งบประมาณในแต่ละเดือน และ 4) ด้านการจัดการความเสี่ยงและการแก้ไขปัญหา สามารถแก้ปัญหาด้านการบริหารจัดการภายใน เช่น ปัญหายอดขายตกต่ำ โดยสามารถค้นหาตลาดใหม่ ช่องทางขายใหม่ และการแสวงหาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาจำหน่าย เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย นำมาซึ่งยอดขายและผลประกอบการที่ดีขึ้นตามลำดับ

Author Biographies

เสกสรรค์ มณีธร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

พัชรินทร์ อุดมจรัสเดช, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

รัชนี เสาร์แก้ว, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2561). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561 จาก https://www.dip.go.th/th.
ณัฐ อมรภิญโญ. (2556). รูปแบบการประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 9(3), 57-66.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท
ธรรมสาร จำกัด.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.egov.go.th.
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ. (2561). หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561). เชียงใหม่: ภาควิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2020-07-12