การจัดการความรู้ลูกค้าของผู้ประกอบการเวชสำอางธรรมชาติในเขตภาคเหนือ
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, ลูกค้า, ผู้ประกอบการเวชสำอางธรรมชาติเขตภาคเหนือบทคัดย่อ
สภาพอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทยนั้น ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีจำนวนธุรกิจผลิตเครื่องสำอางที่ดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ 1,781 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 10,786 ล้านบาท โดยมีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องสำอางเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี โดยข้อมูลการ
จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจย้อนหลัง 5 ปี พบว่ามีอัตราก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 มี
ผู้จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ 302 ราย และปี 2559 มีผู้จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่จำนวน 350 ราย คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.89 (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2559)
นอกจากนี้ยังมีเครื่องสำอางอีกกลุ่มที่เรียกว่า “เวชสำอาง” หรือ Cosmeceutical ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมคุณสมบัติระหว่างยา (Pharmaceutical) และ เครื่องสำอาง (Cosmetics) ไว้ด้วยกัน หรือกล่าวได้ว่า เป็นวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ทำให้เครื่องสำอางมีคุณสมบัติในการบำบัดหรือรักษา ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ ซึ่งมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมเวชสำอางนั้นก็มีแนวโน้มใน
การขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง โดย RNCOS Business Consultancy Service พบว่าในปี 2557 อุตสาหกรรมเวชสำอางโลก มีมูลค่าประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.4 พันล้านบาท และคาดว่าในปี 2560 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 47 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.6 พันล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยระหว่างปี 2555-2560
คิดเป็นร้อยละ 8 (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2559)
ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจการผลิตเวชสำอางธรรมชาติขยายตัวอย่างรวดเร็วคือ
ความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ปลอดจากสารเคมี และ
การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าเป็นแนวโน้มที่ดีที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารที่ทำให้เกิดธุรกิจการผลิตอาหารเสริมสุขภาพ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วยการเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง รวมถึง
เวชสำอางธรรมชาตินั้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้มีการแข่งขันที่รุนแรง เพราะทุกคนต้องการเข้ามามีส่วนแบ่งจากการเติบโต โดยธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเวชสำอางที่ได้รับผลกระทบนั้นประสบปัญหาแตกต่างกันออกไป และส่งผลให้บางธุรกิจหรือบางกิจการต้องปิดตัวลง แต่ก็มีผู้ประกอบการหลายรายที่สามารถดำเนินกิจการ สร้างฐานลูกค้าที่เหนียวแน่น และสามารถดำเนินกิจการโดยเติบโตไปพร้อมกับการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ธุรกิจหรือองค์กรใดที่สามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ลูกค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ ก็จะสามารถสร้างความพึงพอใจ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงตามความต้องการได้มากเท่าไหร่ และกลายเป็นความจงรักภักดีต่อธุรกิจหรือองค์กรในระยะยาว จากเหตุผลและสถานการณ์ต่าง ๆ ข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดการความรู้ลูกค้า (Customer Knowledge Management) ของผู้ประกอบการธุรกิจผลิตเวชสำอางธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลต่อการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจการผลิตและจำหน่าย
เวชสำอางธรรมชาติ และธุรกิจผลิตหรือจำหน่ายเครื่องสำอางประเภทต่าง ๆ และในการวิจัย
ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอางหรือเวชสำอางต่อไป
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). ธุรกิจผลิตเครื่องสำอาง. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560
จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2559/T26/
T26_201603.pdf.
ชัชจริยา ใบลี. (2550). การศึกษารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ.ใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
ชนินทร์ ดอนตุ้มไพร. (2557). การจัดการความรู้ลูกค้าของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปิยะนาถ สิงห์ชู. (2555). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์: CRM (Customer Relationship Management). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560 จาก ww.gotoknow.org/posts/498709.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2559). ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ
(Bio-Base Industry): อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง. กรุงเทพฯ: ปัณณธร มีเดีย.
สมจิตต์ รัตนอุดมโชค. (2554). สถิติเบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2560 จาก:
http://e-learning.snru.ac.th/els/somjit/wadka.html.
Dimitrova, V., Kaneva, M. & Gallucci, T. (2009). Customer Knowledge Management
in the Natural Cosmetics Industry. Industrial Management & Data Systems, 109(9), 1155–1165.
Hafeez, S. et al. (2017). Customer Knowledge Management as a Success Driver for Business in Mobile Sector of Pakistan. International Review of Management and Marketing, 7(1), 1-14.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Nonaka, I. & Takeuchi, H. (1995). The Knowledge-Creating Company: How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation. New York: Oxford University Press.
Wilde, S. (2011). Customer Knowledge Management: Improving Customer Relationship Thought Knowledge Application. New York: Springer.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร