แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถนวัตกรรมบริการส าหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาสถานบริการดูแลระยะยาวในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จิระพงค์ เรืองกุน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

บริการผู้สูงอายุ, ขีดความสามารถนวัตกรรมบริการ, สถานบริการดูแลระยะยาว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะบริการผู้สูงอายุของสถานบริการดูแลระยะยาว
ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลขีดความสามารถนวัตกรรมบริการ
ส าหรับผู้สูงอายุของสถานบริการดูแลระยะยาวในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาแนวทาง
การพัฒนาขีดความสามารถนวัตกรรมบริการส าหรับผู้ประกอบการสถานบริการดูแลระยะยาวในเขต
กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ท าการวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากสถานบริการ
ดูแลระยะยาวในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเลือกกรณีศึกษาโรงพยาบาลผู้สูงอายุกล้วยน้ าไท 2
เดอะซีเนียร์ ศูนย์โกลเด้นไลฟ์ เนอร์สซิ่งโฮม และศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ
บ้านบางแค มาใช้ในการวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ
เก็บข้อมูลจากสถานบริการระยะยาวจ านวน 145 แห่ง ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะบริการของสถานบริการดูแลระยะยาวในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นบริการที่ครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ
เชิงยืนยัน พบว่า ขีดความสามารถขององค์การ ขีดความสามารถทางการตลาด และขีดความสามารถ
ทางทรัพยากรมนุษย์ เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญของการเสริมสร้างขีดความสามารถนวัตกรรมบริการ
โมเดลการวิจัยที่พัฒนาขึ้นนั้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2
= 16.10 df = 12, P-value
= .187 2
/df = 1.341 CFI = .99 IFI = .99 GFI = .98 AGFI = .91 RMSEA = .049 SRMR = .011)
แนวทางการพัฒนานวัตกรรมบริการส าหรับผู้ประกอบการสถานบริการดูแลระยะยาวในเขต
กรุงเทพมหานคร ได้แก่ การให้บริการผู้สูงอายุของสถานบริการดูแลระยะยาวในลักษณะการดูแล
163 Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University
Vol.7 No.2 July - December 2020
165
บทน า
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2564 (กรมกิจการ
ผู้สูงอายุ, 2562) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภาพรวม ดังนั้นครอบครัว
และองค์การในภาคส่วนต่าง ๆ จ าเป็นต้องเตรียมพร้อม หาแนวทางวางมาตรการสร้างความมั่นคง
ให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ที่มีบทบาทส าคัญในการดูแลผู้สูงอายุยังคงเป็นครอบครัว คือ บุตรหลานและญาติ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการที่ครอบครัวไทยมีลูกน้อยลงหรือไม่มีลูก ประกอบกับอายุเฉลี่ยของ
ประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งรูปแบบการอยู่อาศัยที่เปลี่ยนไปในลักษณะที่มีผู้สูงอายุอยู่ตามล าพังเป็น
จ านวนมาก ท าให้การดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวเริ่มมีข้อจ ากัด (วรเวศม์ สุวรรณระดา, 2559)
ประกอบกับแนวโน้มอัตราเจริญพันธุ์รวมของไทยลดลงต่ ากว่าระดับทดแทนเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.
2535 และยังพบว่าสตรีไทยมีแนวโน้มอยู่เป็นโสดมากขึ้นและแต่งงานช้าลง (สัมฤทธิ์ ศรีธ ารงสวัสดิ์
และกนิษฐา บุญธรรมเจริญ, 2553) นอกจากนี้ อัตราส่วนศักยภาพในการเกื้อหนุนผู้สูงวัย (Potential
Support Ratio) มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าประชากรวัยแรงงานที่สามารถดูแลเกื้อหนุน
ผู้สูงอายุนั้นลดลง ท าให้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุลดน้อยลง ยิ่งไปกว่านั้นประชากรวัยแรงงาน
ยังตกอยู่ในสถานะที่เรียกว่าบทบาทเชิงซ้อน (Sandwich Roles) คือ ต้องรับบทบาทหลายด้าน
ทั้งบทบาทของการเป็นภรรยา แม่บ้าน และการท างานเพื่อหารายได้ไปพร้อมกัน ส่งผลให้บุตรหลาน
หรือญาติดูแลผู้สูงอายุได้ไม่เต็มที่ (สัมฤทธิ์ ศรีธ ารงสวัสดิ์ และกนิษฐา บุญธรรมเจริญ, 2553; สมศักดิ์
ชุณหรัศมิ์, 2556) ดังนั้น ความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุในสถานบริการจึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งวรเวศม์ สุวรรณระดา (2559) พบว่า ครอบครัวไทยมีการใช้บุคคลนอกครอบครัวมาเป็นผู้ดูแล
ผู้สูงอายุ และมีระบบการดูแลระยะยาวเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่ผ่านมาของศิริพันธุ์
สาสัตย์ และคณะ (2552) พบว่า การพึ่งพาของผู้สูงอายุที่อยู่ในความดูแลของสถานบริการนั้นพบมาก
ขึ้น ทั้งสถานดูแลระยะยาวในโรงพยาบาล สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย สถานบริบาล และบ้านพัก
คนชรา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สถานบริการส าหรับผู้สูงอายุเป็นภาคส่วนที่มีบทบาทส าคัญในการรองรับ
สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย
กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม
และรูปแบบการด าเนินชีวิต การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่
ไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงประสบปัญหาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ รวมทั้ง
พฤติกรรมการด ารงชีวิต กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มีผู้ให้บริการภาคเอกชนท าหน้าที่ในการดูแล
ระยะยาวแก่ผู้สูงอายุเป็นจ านวนมากถึง 161 แห่ง (เอลเดอร์แคร์ ไทยแลนด์, 2561) และหลากหลาย
ประเภท ได้แก่ โรงพยาบาลที่รับดูแลระยะยาว สถานบริบาล ศูนย์จัดส่งผู้ดูแล และสถานสงเคราะห์
ในลักษณะศูนย์บริการ สถานบริการเหล่านี้อยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันในเรื่องการให้บริการ
164
แบบองค์รวม และการยกระดับขีดความสามารถองค์การ ขีดความสามารถทางการตลาด และ
ขีดความสามารถทางทรัพยากรมนุษย์

Author Biography

จิระพงค์ เรืองกุน, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และศิริชัย กาญจนวาสี. (2561). วิธีวิทยาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
ห้างหุ้นส่วนจ ากัดพิมพ์ทันใจ.
ทัศนีย์ ญาณะ. (2557). การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สถาบันวิจัยและ
พัฒนาระบบสุขภาพชุมชน.
นพดล เหลืองภิรมย์. (2557). การจัดการนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดวงกมล พับลิชชิ่ง.
พยัต วุฒิรงค์. (2562). การจัดการนวัตกรรม: ทรัพยากร องค์การแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
178 วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563
179
มาโกโตะ ยูซูอิ. (2554). นวัตกรรมบริการ: เบื้องหลังความส าเร็จชองเซเว่นอีเลฟเว่น เจแปนและ
ธุรกิจบริการยุคใหม่. (แปลจาก Zukai Seven-Eleven Ryu Service Innovation No
Joken) โดย ชไมพร สุธรรมวงศ์ และบัณฑิต โรจน์อารยานนท์. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริม
เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วรเวศม์ สุวรรณระดา. (2559). ชาญชรา ก้าวสู่สังคมสูงวัยด้วยความรู้และปัญญา. กรุงเทพฯ:
ภาพพิมพ์.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์ และคณะ. (2552). การศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2556). การพัฒนาคุณภาพของผู้สูงอายุ: พัฒนาพื้นที่ต้นแบบและปัจจัยส าคัญ.
กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
สุพิชชา เอกระ. (2559). การจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในกลุ่มชุมชนคนจนเมือง: กรณีศึกษาชุมชน
หมู่บ้านพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร
สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 113-124.
ส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ. (2556). ทิศทางการให้บริการของธุรกิจบริการส าหรับ
ผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนา
สังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สัมฤทธิ์ ศรีธ ารงสวัสดิ์ และกนิษฐา บุญธรรมเจริญ. (2553). การสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุ
ในระยะยาวส าหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ที คิว พี.
เอลเดอร์แคร์ ไทยแลนด์. (2561). รายชื่อสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2561
จาก http://www.eldercarethailand. com/eldercare/.
Hertog, P. D. (2000). Knowledge-Intensive Business Services as Co-Producers of
Innovation. International Journal of Innovation Management, 4(4), 491-528.
Hair, J. et al. (2019). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (8th ed.).
New Jersey: Prentice Hall.
Schartinger, D. (2013). An institutional Analysis of Innovation in Healthcare Services,
In Gallouj, F. Rubalcaba, F. L. & Windrum, P. (Eds.). Public-Private Innovation
Network in Service. (197-227). Cheltenham: Edward Elgar.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30