การวิเคราะห์การจัดกลุ่มพฤติกรรมการจัดการความรู้ของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • พิชญาพร พีรพันธุ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ประสพชัย พสุนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการจัดการความรู้, การวิเคราะห์การจัดกลุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มพฤติกรรมการจัดการความรู้ของบุคลากร
สายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง จ านวน 202 คน ท าการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดย
ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และ
การวิเคราะห์การจัดกลุ่มด้วยเทคนิค K-Means Clustering ใช้ในการจัดกลุ่มหน่วยวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า การจัดกลุ่มตามพฤติกรรมการจัดการความรู้ของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏแห่งหนึ่ง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม มีลักษณะดังนี้ กลุ่มที่ 1 มีสมาชิก 71 คน คิดเป็นร้อยละ 35.15
เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมทั้ง 4 ด้านสูง ซึ่งประกอบด้วย ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการสร้างความรู้
ด้านการเก็บและสืบค้นความรู้ และด้านการถ่ายโอนความรู้และน าไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงตั้งชื่อกลุ่ม
ที่ 1 ว่า “กลุ่มผู้จัดการความรู้” กลุ่มที่ 2 มีสมาชิก 95 คน คิดเป็นร้อยละ 47.03 เป็นกลุ่มที่ยังมี
การแสวงหาความรู้ และการเก็บและสืบค้นความรู้อยู่บ้าง ส่วนด้านการสร้างความรู้ และด้านการถ่าย
โอนความรู้และน าไปใช้ประโยชน์นั้นค่อนข้างน้อย ดังนั้นจึงตั้งชื่อกลุ่มที่ 2 ว่า “กลุ่มผู้เก็บความรู้”
กลุ่มที่ 3 มีสมาชิก 36 คน คิดเป็นร้อยละ 17.82 เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมทุกด้านต่ ามาก ดังนั้นจึงตั้งชื่อ
กลุ่มที่ 3 ว่า “กลุ่มผู้ขาดความรู้” ทั้งนี้สามารถนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการความรู้แก่บุคลากร อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และเป็นปัจจัยสำคัญที่ท าให้องค์กรประสบความสำเร็จ

Author Biographies

พิชญาพร พีรพันธุ์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ประสพชัย พสุนนท์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

References

กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). การจัดการความรู้ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
มหิดล. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และ
การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุติมา เพชรรัตน์ และสุริยะ เจียมประธานรากร. (2558). การจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้. SDU Research Journal, 11(1),
145-161.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามส าหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์.
วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 375-396.
ประสิทธิชัย พิบูลรัตน์. (2560). การเปลี่ยนผ่านของการจัดการความรู้. NBTC Journal, 1(1),
116-133.
สามารถ อัยกร. (2559). การจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(61), 21-30.
สุมาลี บุญเรือง และศราวุธ สังข์วรรณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 225-237.
ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2562). การจัดการความรู้. สืบค้นเมื่อ
28 ธันวาคม 2562 จาก https://www. nstda.or.th/.
อัลยานี วาโดร์. (2560). การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกตามแนวคิดเพื่อน
ช่วยเพื่อน เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน ส าหรับครูผู้สอน สังกัดส านักงาน เขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Marquardt, M. J. (1996). Building the Learning Organization: A Systems Approach
to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1976). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York:
Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30