การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบการบริหาร (7s) กับความส าเร็จของธุรกิจโฮสเทลในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปริยาพร ปรารถนกุล คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วศิน เหลี่ยมปรีชา คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

โฮสเทล, ปัจจัยการบริหาร, ความส าเร็จของธุรกิจโฮสเทล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการด าเนินงานของธุรกิจโฮสเทล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) วัดระดับความส าคัญขององค์ประกอบการบริหาร 7 ด้าน (7s) ของธุรกิจโฮสเทล ในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) วัดระดับความส าเร็จของธุรกิจโฮสเทลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการบริหาร 7 ด้าน กับความสำเร็จของธุรกิจโฮสเทลในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลธุรกิจ โดยมีราคาห้องพักตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป และมีระยะเวลาการประกอบกิจการตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จ ำนวนทั้งสิ้น 85 แห่ง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะของข้อมูล และสถิติเชิงอ้างอิงเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการทดสอบสมมติฐาน

ผลวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการด าเนินการธุรกิจโฮสเทลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยจำนวนห้องพัก ตั้งแต่ 1 - 20 ห้อง มีจุดขายที่ส าคัญคือ ด้านท าเลที่ตั้งและการบริการที่เป็นเลิศด้านรูปแบบห้องพักที่เปิดให้บริการ โฮสเทล ที่มีห้องพักแบบเดียว คือ แบบห้องรวม ร้อยละ 31 และโฮสเทลที่มีห้องพักทั้ง 2 แบบ คือ แบบห้องรวมและห้องเดี่ยว ร้อยละ 69 ในด้านอัตราการเข้าพักในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมานั้น โฮสเทลที่มีอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นนั้นมีจ านวน 33 แห่ง โดยแต่ละแห่งนี้มีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 61 - 80 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 2) ระดับความส าคัญขององค์ประกอบการบริหาร 7 ด้าน พบว่า ด้านระบบมีความส าคัญมากที่สุด รองลงมาคือด้านรูปแบบการบริหาร 3) ระดับความส าเร็จในภาพรวมจัดอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความส าเร็จในด้านกระบวนการภายในมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้และพัฒนา 4) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบการบริหารกับความส าเร็จ ในภาพรวมมีทิศทางความสัมพันธ์ในทางเดียวกัน คือองค์ประกอบทางการบริหารทั้ง 7 ด้าน มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จ และจากการศึกษาวิจัยนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจโฮสเทล สามารถน าผลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจวางแผนเพื่อพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต่อไป

Author Biographies

ปริยาพร ปรารถนกุล, คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

วศิน เหลี่ยมปรีชา, คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

References

กฤษติญา มูลศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจ
โรงแรมประเภท 3 ดาว ในประเทศไทย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมอาเซียน.
สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2560 จาก http://www.research.cmru.ac.th/journal/
file/017-01-002.pdf.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 4. สืบค้นเมื่อ
10 มิถุนายน 2562 จาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7789.
กรุงเทพธุรกิจ. (2559). ข่าวภาคการท่องเที่ยวสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เศรษฐกิจไทย. สืบค้นเมื่อ 10
มิถุนายน 2561 จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/740824.
จันทณี พหุรัต. (2554). อิทธิพลของทักษะและคุณลักษณะการบริหารงานต่อความเป็นมืออาชีพของ
ผู้บริหารธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ ศรีนครินทรวิโรฒ, 2(1), 58-73.
ชัชวลิต สรวารี (2550). การบริหารคนกับองค์กร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐภรณ์ เหลืองพิพัฒน์. (2555). อิทธิพลความคิดเห็นออนไลน์ต่อการตัดสินใจจองที่พักราคา
ประหยัด (Hostel) ในเขตกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทศพร บุญวัชราภัย วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์. (2559). ความคิด สร้างสรรค์
ขององค์กรและนวัตกรรมบริการของโรงแรมบูติกไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn
University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(3), 1242-1259.
พสุ เดชะรินทร์. (2546). Balance Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พสุ เดชะรินทร์. (2551). ชุดเครื่องมือการพัฒนาองค์การ (Organization Improvement
Toolkits) ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 2
การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์วิชั่นพริ้นท์แอนด์มีเดีย.
ภูมิพัฒน์ ลักษณ์กลุมาศ. (2550). ความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา: พนักงานธนาคารธนชาต
จ ากัด (มหาชน) ในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มณีรัตน์ สุวรรณวารี. (2554). แนวคิด และทฤษฎี Five-Force Model. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน
2562 จาก https://www.gotoknow.org/posts/460692.
วรพันธ์ คล้ามไพบูลย์ และจิตติพันธ์ ศรีกสิกรณ์. (2558). The Hostel Bible. กรุงเทพฯ:
Super Green Studio.
วรวัจน์ สุวคนธ์. (2558). Empowerment – กระจายอ านาจเพื่อองค์กรและคน. สืบค้นเมื่อ
20 สิงหาคม 2560 จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635048.
ศูนย์วิจัยกสิกร. (2559). บทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2560 จาก
https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/36167.aspx.
ส านักงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่. (2560). ข้อมูลที่พักแรมจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: ส านักงานสถิติ
จังหวัดเชียงใหม่.
สมจิตต์ รัตนอุดมโชค. (2554). สถิติเบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2560 จาก
http://e-learning.snru.ac.th/els/somjit/wadka.html.
อัฐภิญญา ปุณณมากุล. (2559). การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากลยุทธ์การท าธุรกิจโฮสเทลให้ประสบ
ความส าเร็จ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2560
จาก http://op.mahidol.ac.th/ra/category/research-highlights/.
อุษา กล้าวิจารณ์. (2560). แนวทางสู่ความส าเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน.
SAU Journal of Social Sciences & Humanities, 1(2), 70-79.
Hostelworld. (2015). Hostel in Chiang Mai. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2560 จาก
http://www.hostelworld.com/findabed.php/ChosenCity.ChiangMai/
ChosenCountry Thailand.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30