ความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองของบุคลากรส านักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามค าแหง

ผู้แต่ง

  • วัชระ ณรงค์ฤทธิเดช สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุมิตรา เรืองพีระกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชมสุภัค ครุฑกะ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประเภทของบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวนทั้งสิ้น 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .891 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีระดับความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง และด้านการศึกษาต่อ และ 2) บุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีอายุและระดับการศึกษาแตกต่างกันส่วนบุคลากรที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประเภทของบุคลากรแตกต่างกัน มีความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันมีความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Author Biographies

วัชระ ณรงค์ฤทธิเดช, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สุมิตรา เรืองพีระกุล, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ชมสุภัค ครุฑกะ, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กนิษฐา บัวเผื่อน. (2555). การพัฒนาตนเองของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาสในเขตอ าเภอ
เมืองสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. ปัญหาพิเศษ
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
กฤตเมธ บุญนุ่น. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ดวงกมล วิเชียรสาร และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้า
ในอาชีพของผู้แทนยาบริษัทยาข้ามชาติ ในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal,
Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ,
12(6), 1192-1213.
ดวงเดือน จันทร์เจริญ. (2560). หลักการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามค าแหง.
ปริฉัตร สระทองฮ่วม. (2560). การพัฒนาตนเองของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 4(1), 84-96.
พรทิพย์ ภู่ประดิษฐ์. (2555). ความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการ สังกัดส านักงาน
คณะกรรมการการศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มาริสา ปานงาม. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรสาย
สนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(1), 120-131.
วุฒิพล สกลเกียรติ. (2561). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ในองค์กร. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามค าแหง.
สมคิด บางโม. (2554). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์วิทยพัฒน์.
สมคิด พุทธศรี. (2562). 2019: ปีแห่งความยากล าบาก. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2562 จาก
https://www.the101.world/economics-101-2019/.
สริญญา ไววิ่งรบ. (2561). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(3), 90-98.
สวรรค์เกิด ยืนยาว. (2559). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรสังกัดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
อ าเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบุรีรัมย์.
ส านักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2556). การวางแผนทางก้าวหน้าในสายอาชีพ.
กรุงเทพฯ: ส านักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562 จาก http://www.nesdb.go.th.
สุนิษา กลึงพงษ์. (2556). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และ
การบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(2), 68-82.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30