ความฉลาดทางอารมณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการให้บริการ ของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • ณชิตา หิรัญพิชา กองกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, พฤติกรรมการให้บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการ 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการให้บริการของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการให้บริการของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการ และ 4) เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการให้บริการของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานเลขานุการผู้บริหารและเลขานุการสำนักงานภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์เพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมการบริการของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวมกับพฤติกรรมการให้บริการของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุขและด้านเก่ง สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการให้บริการของผู้ปฏิบัติงานเลขานุการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้ร้อยละ 43.5

Author Biography

ณชิตา หิรัญพิชา, กองกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

กองกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม
2562 จาก https://www.dmh.go.th/download/ebooks/EQ1.pdf.
กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (2562). แผนยุทธศาสตร์ 20 ปี
(2561 - 2580) และแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจ า
ปีงบประมาณ 2562 (ฉบับย่อ). สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562 จาก
http://www.pld.rmutt.ac.th/download/Download(2)/Policy/P01_ 11012562.pdf.
ญานี ข าพวง. (2558). ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการบริการของพนักงานโรงแรมอ าเภอ
หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติ
แสตมฟอร์ด.
ทิพย์ประภา พิศาลกิตติคุณ. (2558). ความฉลาดทางอารมณ์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน:
กรณีศึกษา ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายควบคุม ระบบก าลังไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติส าหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
ิยฉัตร จันทิวา. (2558). รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเลขานุการ
ผู้บริหารในสถานประกอบการ. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิชิต อู่อ้น. (2553). การวิจัยและการสืบค้นข้อมูลธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ส าราญ มีแจ้ง. (2557). สถิติขั้นสูงส าหรับการวิจัย ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562 จาก
https://www.nesdc.go.th/ ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6422.
Hogan, J., Hogan, R. & Busch, C. M. (1984). How to Measure Service Orientation. Journal
of Applied Psychology, 69(1), 167-173.
Goleman, D. (1998). Working with Emotional Intelligence. New York: Bantum Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30