การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เพื่อเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • อนันต์ สุนทราเมธากุล คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ฐิติพร อุ่นใจ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วันวิสา มากดี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ความสามารถทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร 2) เพื่อพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เพื่อเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร และผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา จำนวน 25 ราย และแบบสอบถามโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มทดลองที่เป็นผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จำนวน 100 ราย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย 1) ความต้องการในการพัฒนาตราสินค้าของกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูลจังหวัดยโสธร พบว่า ชุมชนมีความต้องการตราสินค้า โดยใช้ชื่อว่า “แม่สมหมาย” สีของตราสินค้า คือ สีส้มและ
สีแดง ควรสื่ออารมณ์ถึงอาหารและของฝากที่ทำมาจากปลา เอกลักษณ์เฉพาะของตราสินค้า คือ ปลาตะเพียน และชุมชนมีความต้องการบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถเปิดบรรจุภัณฑ์ได้สะดวก ถือรับประทานได้ทันที จัดเก็บง่าย มีน้ำหนักเบา มีความคงทนช่วยถนอมอายุของสินค้า และเปิดและปิดบรรจุภัณฑ์ได้ตลอดเวลา 2) ผลการพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เพื่อเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ พบว่า ตราสินค้าแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของปลาตะเพียนที่เป็นเอกลักษณ์ของสินค้า
มีสีส้มและสีแดง ผลการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มี 2 ประเภท คือ ถุงฟรอยซิปล็อคด้านหน้าใส และกระปุกพลาสติก
ฝาเกลียวสีดำ

References

ชุติเดช เจียนดอน และคณะ. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัด นครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 229-239.
ดรุณี มูเก็ม. (2560). การพัฒนารูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์น้ำพริกกุ้งเสียบ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปริงจังหวัดพังงา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2), 69-79.
บัญชา จุลุกุล. (2561). การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการขาย กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลรำแดง อ. สิงหนคร จ. สงขลา. ใน พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการระดับชาติคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 1 (31-39). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ประชิด ทิณบุตร และคณะ. (2559). การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยง
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 84-94.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.
สุรพล ชยภพ. (2552). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อมรรัตน์ บุญสว่าง. (2559). การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสินค้าอาหารเอกลักษณ์
ของจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(2). 33-60.
Adiyanto, O., Jatmiko, H. A. & Erni. (2019). Development of Food Packaging Design with Kansei Engineering Approach. International Journal of Scientific & Technology Research, 8(12), 1778-1780.
Khuong, M. N. & Tran, N. T. H. (2018). The Impacts of Product Packaging Elements on Brand Image and Purchase Intention: An Empirical Study of Phuc Long’s Packaged Tea Products. International Journal of Trade, Economics and Finance, 9(1), 8-13.
Kolegija, V. (2018). Brand Image Development. Eco forum, 7(1), 1-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29