การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับปัจจัยการตัดสินใจ ที่มีผลต่อการเลือกใช้เว็บสำเร็จรูปชอปอัพ บริษัท เน็ตดีไซน์ โฮสต์ จำกัด
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด คาโนนิคอล ปัจจัยการตัดสินใจ เว็บสำเร็จรูปชอปอัพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับปัจจัยการตัดสินใจที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการเว็บสำเร็จรูปชอปอัพ บริษัท เน็ตดีไซน์ โฮสต์ จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้สนใจทำเว็บไซต์ของบริษัท เน็ตดีไซน์ โฮสต์ จำกัด จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการตัดสินใจ โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล เท่ากับ .919 โดยส่วนประสมทางการตลาดมีค่าน้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอลระหว่าง .600 - .934 กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับช่องทางการจัดจำหน่ายมากที่สุด ส่วนปัจจัยการตัดสินใจมีค่าน้ำหนักคาโนนิคอลระหว่าง .756 - .914 กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้อมูลมากที่สุด
References
ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.trustmarkthai.com /index.php/component/dbd/main?layout=newsdetail&id=121.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). รายงานสถิติการออกเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ DBD Registered และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified
ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.trustmarkthai.com /index.php/th/news/detail/6861af00-f414-11ea-977e-89db9f8f6af0.
จิรวรรณ ตั้งไพฑูรย์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). การวิเคราะห์ความสมนัยระหว่างช่วงวัย ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความภักดีต่อตราสินค้าร้านขนมหวานจังหวัดเพชรบุรี. วารสารการบัญชีและ
การจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(1), 148 - 159.
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฉกาชาต สุขโพธิ์เพ็ชร์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสนามกอล์ฟ ออล สตาร์ กอล์ฟ คอมเพล็กซ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปพน เลิศชาคร. (2559). คุณภาพของเว็บไซต์ ความไว้วางใจ การรับรู้ถึงคุณค่า และการจัดอันดับและ
ความคิดเห็นที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน eBay ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.
การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พิริณฎา หลวงเทพ และประสพชัย พสุนนท์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ
ผ่านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. Veridian E-Journal, 7(2), 621 - 638.
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2559). การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอลสำหรับงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ศึกษา. วารสารคณิตศาสตร์ โดย สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 61(690),
13 -26.
เสาวคนธ์ หอมสุด. (2557). แบบจำลองสมการโครงสร้างความตั้งใจซื้อซ้ำของลูกค้าต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภท B2C ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560ก). ETDA เผยผลสำรวจพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตและมูลค่า
อีคอมเมิร์ซ โชว์ความพร้อมไทยก้าวขึ้นเป็นเจ้าอีคอมเมิร์ซอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.etda.or.th/content/ thailand-internet-user-profile-2017-and-value-of-e-commerce-survey-in-thailand-2017l-press-conference.html.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560ข). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/value-of-e-commerce-survey-2017.html.
Kotler, P. (2016). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control. (15th ed.) New Jersey: Prentice-Hall.
Pogorelova, E. et al. (2016). Marketing Mix for E-commerce. International Journal of Environmental & Science Education, 11(14), 6744-6759.
Sam, K. M. & Chatwin, C. R. (2005). The Mapping between Business E-Marketing Mix and Internet Consumers’ Decision-Making Styles in E-Commerce. Proceedings of the Fifth International Conference on Electronic Business Baoding Liu, 411-418. Beijing: Tsinghua University.
Sherry, A. & Henson, R. K. (2005). Conducting and Interpreting Canonical Correlation Analysis in Personality Research: A User-Friendly Primer. Journal of Personality Assessment, 84(1), 37-48.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร