การศึกษาความต้องการการนำโฉนดที่ดินหรือ นส.3 เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ของผู้ใช้บริการบริษัทในกลุ่มสินเชื่อทะเบียนรถในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ฐิติวรดา แสงสว่าง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • พรรณนภา เชื้อบาง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • เฉวียง วงค์จินดา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • สุพรรษา จิตต์มั่น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • วรพรรณ รัตนทรงธรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ส่วนประสมทางการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อความต้องการนำโฉนดที่ดินหรือ นส.3 เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน 2) ความต้องการนำโฉนดที่ดินหรือ นส.3 เป็นหลักทรัพย์
ค้ำประกัน และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของบริษัทในกลุ่มสินเชื่อทะเบียนรถในประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินของบริษัทในกลุ่มสินเชื่อทะเบียนรถในประเทศไทย จำนวน 2,629,496 ราย กลุ่มตัวอย่าง 2,000 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอย โลจิสติกส์ และการวิเคราะห์
การถดถอยแบบพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ การศึกษา อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน ค้าขาย ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน และอาชีพรับจ้างทั่วไป มีผลต่อความต้องการนำโฉนดที่ดินหรือ
นส.3 เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ ส่วนเพศ อายุ สถานภาพ และอาชีพรับราชการไม่มีผล นอกจากนี้ประชาชนผู้ใช้บริการบริษัทในกลุ่มสินเชื่อทะเบียนรถในประเทศไทยมีความต้องการนำโฉนดที่ดินหรือ นส.3 เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ จำนวน 1,347 ราย คิดเป็นร้อยละ 67.8 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อ
การตัดสินใจเลือกใช้บริการ ได้แก่ การให้บริการ อัตราดอกเบี้ย ช่องทางการให้บริการ การส่งเสริมการตลาด พนักงานให้บริการ สถานที่ให้บริการ และการประชาสัมพันธ์

References

จตุพล รุ่งเรือง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ของบริษัท AAM. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชุติพงศ์ ศาตนันท์พิพัฒน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อหนี้นอกระบบ: กรณีศึกษาบุคลากรสังกัด
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฐานเศรษฐกิจ. (2561). สมาคมสินเชื่อทะเบียนรถชี้เกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยช่วยสร้างมาตรฐาน
การดำเนินธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2563 จาก https://www.prachachat.net.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). รายงานผลสำรวจการเข้าถึงบริการทางการเงินภาคครัวเรือนปี 2556. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2562 จาก https://www.bot.or.th
บุศรอ นิแซ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการใช้บริการสินเชื่อของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยในจังหวัดยะลา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปฐมพงค์ กุกแก้ว. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจจัดหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียน: กรณีศึกษาสินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์ บริษัท เมืองไทยแคปปิตอลจำกัด (มหาชน) สาขาย่อยอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 249-257.
พิมพ์ธัญญา ฆ้องเสนาะ. (2562). แนวทางการกำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน. สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร, อ้างถึงใน วิยะดา ตันวัฒนากูล (พ.ศ.2547). การวิเคราะห์สถิติพื้นฐานและนอนพาราเมทริกซ์. เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วาสินี เสถียรกาล (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2562). สถานการณ์และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ. วารสารสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 9(8), 1- 40.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภคฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
สมคิด ยาเคน และพรรณเพ็ญ หอมบุญมา. (2559). ปัจจัยการเลือกใช้บริการทางการเงินจากธนาคารออมสินของประชากรในเขตเมืองและนอกเมืองจังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, 11(2), 160-171.
สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ. (2563). รายชื่อสมาชิกของสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2562 จาก http://www.vtlathailand.com.
สุกรี เจริญสุข. (2560). การศึกษาเท่านั้นที่ทำให้ประเทศเจริญ. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2562 จาก https://www.matichon.co.th.
สุรัสดา มีด้วง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน สำนักงานราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุระชัย เชื้อลิ้นฟ้า. (2550). พฤติกรรมการก่อหนี้ภาคครัวเรือนก่อและหลังวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Aaker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing Research. (7th ed.). New York: John Wiley and Sons.
Black, K. (2006). Business Statistic for Contemporary Decision Making. (4th ed.). New York: John Wiley and Son.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Kotler, P., Kartajaya, H. & Setiawan, I. (2016). Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital Marketing Management. New Jersey: John Wiley & Sons.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory. (2nd ed.). New York: Haper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29