ความคาดหวังของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการธุรกิจโฮสเทล ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชมสุภัค ครุฑกะ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ฐิติรัตน์ มีเพิ่มพูนศรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุวรรณี เดชวรชัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณัฐวุฒิ ฮันตระกูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปิยะนุช เงินชูศรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความคาดหวังของผู้รับบริการ คุณภาพการให้บริการ ธุรกิจโฮสเทล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการธุรกิจโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เปรียบเทียบความคาดหวังของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการธุรกิจโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และเขตพื้นที่ให้บริการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้รับบริการธุรกิจโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการธุรกิจโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการธุรกิจโฮสเทลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผู้รับบริการที่มี เพศ อายุ อาชีพ และเขตพื้นที่ให้บริการที่แตกต่างกันมีความคาดหวังต่อคุณภาพ
การให้บริการธุรกิจโฮสเทลในภาพรวมไม่แตกต่างกัน

References

กาญจนา ทวินันท์ และแววมยุรา คำสุข. (2558). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในธุรกิจการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 151- 167.
ฐิติรัตน์ มีเพิ่มพูนศรี. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการของผู้ประกอบการธุรกิจโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิธิศ สระทองอยู่. (2562). คุณภาพการให้บริการของพนักงานปฏิบัติหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทยที่มี
ผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟสายตะวันออกกรุงเทพฯ–ชลบุรี. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(1), 65-75.
ปิยณัฐ จันทร์เกิด. (2560). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครสวรรค์ตามการรับรู้ของประชาชน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ภาวิณี ทองแย้ม. (2560). ความสำคัญของคุณภาพการบริการต่อความสำเร็จของธุรกิจ. วารสารเกษมบัณฑิต, 18(1), 219-232.
ระชานนท์ ทวีผล และธีระวัฒน์ จันทร์ทึก. (2560). การให้บริการแบบมืออาชีพของโรงแรมบูติคในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 1-14.
วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ และจิตติพันธ์ ศรีสิกรณ์. (2558). The Hostel Bible. กรุงเทพฯ: ซูเปอร์กรีน.
วิมลรัตน์ หงส์ทอง. (2555). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการให้บริการลูกค้า ธนาคารออมสิน
สาขาวัชรพล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศฐิฒฎา ธารารัตนสุวรรณ. (2563). ผลกระทบเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อวิกฤตการท่องเที่ยวของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://www.senate.go.th.
ศิมาภรณ์ สิทธิชัย สิญาธร ขุนอ่อน และนิตย์ หทัยวสีวงศ์สุขศรี. (2560). คุณภาพบริการของธุรกิจโรงแรมในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(2), 182-203.
สุพิชญา เพิ่มพูล. (2556). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการให้บริการท่าเทียบเรือประมงสงขลา 2
(ท่าสะอ้าน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2563). 7 นโยบาย สศค.ฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลัง COVID-19. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://www.moneyandbanking.co.th/article/fpo-economicre covery-10062020.
อภิญญา ภัทราพรพิสิฐ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) สาขาถนนแสงชูโต จังหวัดกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เอกราช ลักษณะสัมฤทธิ์. (2560). รู้จักโฮสเทลที่พักคู่ใจของเหล่าแบ็คแพ็คเกอร์. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2560 จาก https://dsignsomething.com.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: Johnson Wiley & Sons.
Parasuraman, A., Berry, L. L. & Zeithaml, A. V. (1991). Understanding Customer Expectations of Service. Sloan Management Review, 32(3), 39-48.
Parasuraman, A., Zeithaml, A. V. & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. The Journal of Marketing, 49(4), 41-50.
Parasuraman, A., Zeithaml, A. V. & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 14(1), 12-36.
Parasuraman, A., Zeithaml A. V. & Berry, L. L. (1994). Reassessment of Expectations as a Comparison Standard in Measuring Service Quality: Implications for Further Research. Journal of Marketing, 58(1), 111-124.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.
Zeithaml, A. V., Berry, L. L. & Parasuraman, A. (1993). The Nature and Determinants of Customer Expectations of Service. Journal of the Academy of Marketing Science,
21(1), 1-12.
Zeithaml, A. V., Parasuraman, A. & Malhotra, A. (2002). Service Quality Delivery through Web Sites: Acritical Review of Extant Knowledge. Journal of the Academy of Marketing Science, 30(4), 362-375.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29