ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสารกับคุณภาพการบริการ ของรถโดยสารประจำทางกรีนบัส

ผู้แต่ง

  • พีรยา สมศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ตะวัน วาทกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง ความพึงพอใจ คุณภาพการบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคาดหวังและระดับความพึงพอใจ และวิเคราะห์คุณลักษณะผลลัพธ์ของความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการ
รถโดยสารประจำทางกรีนบัส กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้โดยสารที่เลือกใช้บริการรถโดยสารประจำทางกรีนบัส ในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติวิเคราะห์ผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยแบบจับคู่ และวิเคราะห์คุณลักษณะผลลัพธ์ของความคาดหวังและ
ความพึงพอใจของผู้โดยสารด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์ความสำคัญและผลการดำเนินงาน

ผลการการศึกษาพบว่า ความคาดหวังในคุณภาพการบริการมีค่าเฉลี่ยรวม 3.95 ความพึงพอใจในบริการ
มีค่าเฉลี่ยรวม 3.88 ผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการบริการในภาพรวมและในแต่ละด้านเป็นค่าลบ โดยมีค่าเฉลี่ยความคาดหวังสูงกว่าความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ ยกเว้นด้านบริการที่จับต้องได้เป็นรูปธรรม ผู้โดยสารมีความพึงพอใจมากกว่าความคาดหวังก่อนได้รับบริการ การวิเคราะห์คุณลักษณะผลลัพธ์ของความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางกรีนบัส พบว่าควรให้ความสำคัญในคุณลักษณะที่ 2 คือ พึงพอใจต่อผู้ให้บริการ ซึ่งรถโดยสารประจำทางกรีนบัสได้มีจัดการบริการที่ดีแล้วตามความพึงพอใจของผู้โดยสารและควรรักษาประสิทธิภาพคุณภาพการบริการนี้ไว้

 

References

กรมการขนส่งทางบก. (2558). แผนยุทธ์ศาสตร์กรมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2559-2563. สืบค้นเมื่อ
18 สิงหาคม 2562 จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER12 /GENERAL/DATA0000/00000055.PDF.
กรมการขนส่งทางบก. (2559). รายงานสถิติการขนส่ง ประจำปี 2558. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2562 จากhttp://apps.dlt.go.th/statistics_web/brochure/statreport115.pdf.
กัลยา สร้อยสิงห์. (2559). ความคาดหวังและการรับรู้ต่อความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการโรงแรมในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 216-238.
ธนัตถ์ภัทร ถิรธนัชดิลก. (2560). มิติคุณภาพบริการของโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตพื้นที่พัทยาจากมุมมองนักท่องเที่ยว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 60(2), 144-161.
บริษัทชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ จำกัด. (2561). สรุปจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการรถโดยสารประจำทางของบริษัทชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2561. เชียงใหม่: บริษัท ชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ จำกัด.
ประชาชาติธุรกิจ. (2562). สมชายทองคำคูณ ต่อยอด “กรีนบัส” โมเดลธุรกิจใหม่. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-400590.
ภัทรพร สุวรรณพูล. (2562). การวิเคราะห์ช่องว่างคุณภาพการบริการ: กรณีศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วนาพรรณ ชื่นอิ่ม พาณี สีตกะลิน และอารยา ประเสริฐชัย. (2558). ความคาดหวังและการรับรู้ของบุคลากรต่อคุณภาพการบริการของหน่วยบริการสุขภาพบุคลากร. รามาธิบดีพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยมหิดล, 21(1), 122-138.
สุภมาส อังศโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). การออกแบบแบบสอบถามสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.
อลิสา วิภาสธวัช. (2558). การศึกษาคุณภาพการบริการของรถตู้โดยสารสายกรุงเทพฯ-พัทยา เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการของรถตู้โดยสาร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
เอกสิทธิ์ สันติภาพ และจงกลบดินทร์ แสงอาสภาวิริยะ. (2558). การวัดคุณภาพการบริการโลจิสติกส์โดยวิธี
P-TRANSQUAL กรณีศึกษา: รถโดยสารระหว่างประเทศไทย-หลวงพระบาง. วารสารราชมงคลล้านนา, 3(2), 72-83.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publisher.
Evans, J. R. (2011). Quality Management, Organization, and Strategy. (6th ed.). Ohio: South-Western Cengage Learning.
Martilla, J. A. & James, J. C. (1977). Importance-Performance Analysis. Journal of Marketing, 41(1), 7-79.
Millett, J. D. (1954). Management in the Public Service: The Quest for Effective Performance. New York: McGraw-Hill.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Zeithaml, V. A., Parasuraman, A. & Berry, L. L. (1990). A Delivering Quality Service Balancing Customer Perception and Expectation. New York: The Free Press-A Diversion of Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29