ความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุของผู้ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสุขภาพ การทำงานหลังเกษียณบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสุขภาพ และความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุของผู้ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านสุขภาพ ที่ส่งผลต่อความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุของผู้ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี จำนวน 227 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 50-54 ปี สมรสแล้ว มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท ตำแหน่งพนักงาน ประสบการณ์การทำงาน 11-15 ปี มีระดับความคิดเห็นของปัจจัย
ด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านสุขภาพอยู่ในระดับมาก มีความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุอยู่ในระดับปานกลาง
2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุโดยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านภาระที่ต้องรับผิดชอบได้รับการคัดเลือกเข้าสมการเป็นอันดับ 1 ร้อยละ 45.6 ด้านระดับการออม ร้อยละ 49.7 ปัจจัยด้านสุขภาพในด้านสุขภาพกาย ร้อยละ 57.2 มีความคลาดเคลื่อน .430 และมีค่าคงที่เท่ากับ 6.973 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเขียนเป็นสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ Ŷ = -.966X21 + .554X42 - .688X24 + 6.973
References
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เฉลิมพล ทรัพย์อุไรรัตน์ และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 187-202.
ทิพรัตน์ มาระเนตร์. (2555). การตัดสินใจทำงานของข้าราชการผู้สูงอายุหลังเกษียณ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เทสโก้ โลตัส. (2562). จำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในเทสโก้โลตัสในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ
18 กันยายน 2562 จาก https://www.tescolotus.com/about/our-business.
ปุณญาดา บุญเพ็ง. (2558). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของข้าราชการทหารบกประจำการ ณ มณฑลทหารบกที่ 15 จังหวัดเพชรบุรี. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติ
แสตมฟอร์ด.
รัศมี ศักดา และสุทิณี อยู่ประสิทธิ์. (2554). ปัจจัยกำหนดความต้องการทำงานและรูปแบบการทำงานหลังเกษียณอายุ กรณีศึกษา ข้าราชการทหารค่ายวิภาวดีรังสิต จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีรวรรณ แก้วใส. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทำงานต่อในระบบราชการของข้าราชการที่ใกล้เกษียณอายุราชการ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุชาติ คุ้มวัน. (2559). การศึกษาความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุราชการของข้าราชการทหารอากาศ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุภาพร ยั่งยืน. (2561). การตัดสินใจทำงานของข้าราชการพลเรือนหลังเกษียณอายุราชการ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). การคาดการณ์ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
Annink, A. et al. (2016). Financial Hardship and Well-being: A Cross-national Comparison among the European Self-employed. European Journal of Work and Organizational Psychology, 25(5), 645-657.
Brand Buffet. (2020). tesco-lotus-60up-recruitment. Retrieved July 4, 2020, from https://www.brandbuffet.in.th/2019/03/tesco-lotus-60up-recruitment-ads.
John, W. B. (1981). Research in Education. London: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร