ความสัมพันธ์ระหว่างการมีผู้หญิงเป็นคณะกรรมการบริษัทกับการวางแผนภาษีเงินได้ นิติบุคคลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET 100 Index

ผู้แต่ง

  • ดิษยา จำนงค์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ไพบูลย์ ผจงวงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธำรงศักดิ์ เศวตเลข คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

คณะกรรมการบริษัท การวางแผนภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
การมีผู้หญิงเป็นคณะกรรมการบริษัทกับการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัท
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET 100 Index โดยมีจำนวนบริษัทที่ผ่านเกณฑ์
การคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 60 บริษัท วิธีการศึกษา ใช้ข้อมูลทุติยภูมิซึ่งได้เก็บรวบรวมข้อมูล
งบการเงินของบริษัทจากฐานข้อมูล SETSMART แบบ 56-1 และรายงานประจำปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึง
พ.ศ. 2562 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร ได้แก่
การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Analysis) และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ในการอธิบายอิทธิพลของตัวแปร

ผลการศึกษาพบว่าอัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tax Rate) มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราภาษีที่บริษัทควรจ่ายให้ภาครัฐ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าบริษัทมีการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อเสียภาษีน้อยที่สุด
จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรพบความสัมพันธ์ระหว่างการมีผู้หญิงเป็นคณะกรรมการบริษัทกับ
การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล และความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างการไม่มีผู้หญิงเป็นคณะกรรมการบริษัทกับ
การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล และการมีผู้หญิงเป็นคณะกรรมการบริษัทมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 20
มีอิทธิพลต่อการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงกว่าตัวแปรอิสระอื่น ๆ ด้วย

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือบริษัทควรกำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทให้เหมาะสมเพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท อีกทั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีควรคำนึงถึงเจตนารมณ์ของการจัดเก็บภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย และเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของภาษีอากร

 

References

ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม. (2553). การวางแผนภาษีอากร. กรุงเทพฯ: สถาบัน T. Training Center.
เนชั่นทีวี. (2560). ผลสำรวจระดับโลก "ผู้บริหารหญิงไทย"ก้าวเป็นผู้บริหารสูงสุด ติดอันดับ 3 เอเชียแปซิฟิก. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560 จาก https://www.nationtv.tv/main/ content/378537619/.
บดินทร์ มหาวงศ์ และไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานและการหลบหลีกภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 13(18), 15-39.
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์. (2560). สร้างโอกาสลงทุนกับ BSET 100. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2560 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642792.
สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2560). อิทธิพลของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ และโครงสร้าง
การถือหุ้นที่มีผลต่อการวางแผนภาษี: หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(37), 29-44.
Badertscher, B., Katz, S. P. & Rego, S. O. (2010). The Impact of Private Equity Ownership on Portfolio Firms’ Corporate Tax Planning. Retrieved December 25, 2017, from http:papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1338282.
Chen, S. et al. (2010). Are Family Firms More Tax Aggressive Than Non-Family Firms?. Journal of Financial Economics, 95(1), 41-61.
Dyreng, S. C., Hanlon, M. & Maydew, E. L. (2010). The Effects of Executives on Corporate Tax Avoidance. The Accounting Review, 85(4), 1163-1189.
Lanis, R., Richardson, G. & Taylor G. (2017). Board of Director Gender and Corporate Tax Aggressiveness: An Empirical Analysis. Journal of Business Ethics, 144(3), 577-596.
Noor, R. M., Fadzillah, N. S. M. & Mastuki. N. (2010). Corporate Tax Planning: A Study On Corporate Effective Tax Rates of Malaysian Listed Companies. International Journal of Trade Economics and Finance, 1(2), 189-193.
Richardson, G. & Lanis, R. (2007). Determinants of The Variability in Corporate Effective Tax Rates and Tax Reform: Evidence from Australia. Journal of Accounting and Public Policy, 26(6), 689-704.
Srinidhi, B., Gul, F. A. & Tsui, J. (2011). Female Directors and Earnings Quality. Contemporary Accounting Research, 28(5), 1610-1644.
Wang, X. (2010). Tax Avoidance, Corporate Transparency, and Firm Value. Retrieved February 16, 2017, from http://papers.ssrn.com/abstract=1716474.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29