ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวทางการบริการสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชนภายใต้บริบท โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์: การวิจัยผสานวิธี

ผู้แต่ง

  • พิชญาพร พีรพันธุ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ประสพชัย พสุนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริการสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการบริการสุขภาพ และสำรวจ
แนวทางการบริการสุขภาพที่เหมาะสมภายใต้บริบทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชน และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวทางการบริการสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชนภายใต้บริบทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แบบขั้นตอนเชิงสำรวจ โดยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ และประชาชนผู้ใช้บริการ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ
แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ประชาชนในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการบริการสุขภาพ สำหรับองค์ประกอบด้านโครงสร้าง ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่าจุดให้บริการบางจุดยังไม่เอื้อต่อการให้บริการ และยังไม่เป็นสัดส่วนเพียงพอ ด้านบุคลากร/เจ้าหน้าที่ พบว่าแพทย์และพยาบาลไม่เพียงพอ องค์ประกอบด้านกระบวนการ
ในด้านขั้นตอนการให้บริการรักษาพยาบาล พบว่าระบบการเชื่อมต่อกับบริการสุขภาพอื่น ๆ ยังไม่เป็นรูปธรรม ด้านการสื่อสารและให้ข้อมูล พบว่าขาดจุดให้บริการความรู้ ข่าวสาร และด้านการให้บริการในชุมชน พบว่าขาดการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้ป่วย และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร แนวทางการบริการสุขภาพที่เหมาะสมภายใต้บริบทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งที่มีผลต่อความ
พึงพอใจของประชาชนด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกควรมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เพียงพอและเอื้อต่อการให้บริการ ด้านบุคลากร/เจ้าหน้าที่ ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมและเพียงพอต่อการให้บริการ ด้านขั้นตอนการให้บริการรักษาพยาบาล ควรจัดบริการเชื่อมต่อกับระบบสุขภาพอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ ด้านการสื่อสารและให้ข้อมูล ควรมีการจัดระบบการให้คำแนะนำและให้ข้อมูล
ด้านการให้บริการในชุมชน ควรพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยและควรมีการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการบริการสุขภาพ และการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวทางการบริการสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชนภายใต้บริบทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง พบว่าปัจจัยทุกด้านส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชน

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2559). 10 ตัวชี้วัดระบบบริการสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563
จาก https://hss.moph.go.th.
โชคชัย มานะธุระ พรหมพิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง และวราวัชร์ ขจรรัตนวณิชย์. (2556). แนวทางการจัดบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่เหมาะสมในบริบทอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร
การพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(2), 21-34.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 375-396.
ปะราลี โอภาสนันท์ และคณะ. (2560). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. วารสาร
การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 177-187.
พอพล อุยยานนท์. (2557). การให้บริการและความต้องการบริการสาธารณสุขในพื้นที่มาบตาพุด
จังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2558). สถานการณ์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2547–2558. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.
สายสมร เฉลยกิตติ และทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. (2558). การให้บริการปรึกษาทางสุขภาพ: การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(1), 253-262.
สำนักปลัดเทศบาล. (2561). จำนวนประชากร. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563 จาก http://www.thasao.go.th.
Ameh, S. et al. (2017). Relationships Between Structure, Process and Outcome to Assess Quality of Integrated Chronic Disease Management in a Rural South African Setting: Applying a Structural Equation Model. BMC Health Services Research, 17(1),
229-243.
Denzin, N. K. (1970). The Research Act: A Theoretical Introduction to Sociological Methods. Chicago: Aldine Pub.
Donabedian, A. (1988). The Quality of Care: How Can It be Assessed ?. Journal of the American Medical Association, 260(12), 1743-1748.
Hair, J. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education International.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 1-55.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.
Wang, X., Chen, J. & Burstrom, B. (2019). Exploring Pathways to Outpatients’ Satisfaction with Health Care in Chinese Public Hospitals in Urban and Rural Areas Using Patient-Reported Experiences. International Journal for Equity in Health, 18(1), 1-13.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29