พฤติกรรมการซื้ออาหารปลอดภัยของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • บุษกร คำโฮม คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ศุภกัญญา จันทรุกขา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • เจียระไน ไชยกาล เจิ้ง คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการซื้อ อาหารปลอดภัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้ออาหารปลอดภัยของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารปลอดภัย
3) เปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารปลอดภัยของผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ อาชีพ สถานภาพ รายได้ ระดับการศึกษา และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนแตกต่างกัน งานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 392 ราย วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติ
เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test และ F-test

ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารปลอดภัยประเภทผัก โดยซื้อจากตลาดสด การเลือกสถานที่ซื้ออาหารปลอดภัยพิจารณาจากความใกล้ที่พักหรือที่ทำงาน สาเหตุที่ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารปลอดภัยคือ ดีต่อสุขภาพ ผู้มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยมากที่สุดคือ ตนเอง ผู้บริโภคยินดีซื้ออาหารปลอดภัยในราคาที่สูงกว่าอาหารปกติร้อยละ 5 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารปลอดภัยระดับมากมี 5 ปัจจัย เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยดังนี้ ด้านผู้ขาย ด้านลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อม ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ และด้านราคา ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารปลอดภัยระดับปานกลางคือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารปลอดภัยระดับน้อยคือ ปัจจัยด้านสถานที่ ผู้บริโภคที่มีสถานภาพ รายได้ ระดับการศึกษา และจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารปลอดภัยไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารปลอดภัยแตกต่างกัน

References

กิตติภพ สงเคราะห์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จักรพงษ์ สุขพันธ์. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อช่องการจัดจำหน่ายผักอินทรีย์. ใน สัณชัย
จุตสิทธา (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 8: 2559 “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างยั่งยืนสู่โลกาภิวัตน์” (124-134). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
ชลลดา ไชยอรรถ. (2559). การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจอาหารคลีนสำเร็จรูปในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ไทยโพสต์. (2562). สถานการณ์การบริโภคผักและผลไม้ในประเทศไทย คนไทยมีแนวโน้มการบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.thaipost.net/ main/detail/25506.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี.อินเตอร์ พริ้นท์.
ธิถาปัตย์ แตงแก้ว. (2560). พฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารพร้อมบริโภคจากร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์ และอิสริยา บุญญะศิริ. (2559). รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคและความเต็มใจที่จะจ่ายสําหรับผักผลไม้ปลอดภัยของประชาชนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ผู้จัดการออนไลน์. (2560). ผู้บริโภคสุดทน อาหารปนเปื้อน เหตุก่อมะเร็ง. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562
จาก https://mgronline.com/live/detail/9600000078289.
พสชนันท์ บุญช่วย และประสพชัย พสุนนท์. (2561). การวิเคราะห์ปัจจัยและจัดกลุ่มการเลือกบริโภคผัก
ปลอดสารพิษของผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 52-63.
มาร์เกตติ้งอุปส์. (2562). ยิ่ง “โสด” ยิ่งเปย์! ศึกษาพฤติกรรม “คนไร้คู่” กิน อยู่ ใช้จ่ายอย่างไร เมื่อเทียบกับ “คนมีครอบครัว”. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.marketingoops.com /reports/behaviors/singles-spending-behavior.
รุ่งนภา จิตต์รัก. (2551). ปัจจัยพฤติกรรมการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.
การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัตนา สีดี. (2561). ความตั้งใจที่จะซื้ออาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 134-146.
วรินทร์ทิพย์ กำลังแพทย์. (2559). การตลาดออนไลน์กับผู้บริโภคยุค XYZ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.
พระนคร, 1(2): 1-17.
วชิระ น้อยนารถ พัชราวดี ศรีบุญเรือง และสาวิตรี รังสิภัทร์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษของผู้บริโภค ร้านโกลเด้น เพลซ สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 35(1), 136-145.
ศูนย์อนามัยที่ 7. (2558). รายงานผลการดำเนินงานตลาดสดน่าซื้อ ปีงบประมาณ 2559. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563 จาก http://foodsan.anamai.moph.go.th/download/D_market/market2558 /marketnameZ7.xls.
สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2561-2564 (ฉบับใหม่).
สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562 จาก http://www.ubu.ac.th/web/files_up/
03f2017041010303944.pdf.
หทัยชนก พรรคเจริญ. (2555). เทคนิคการเลือกตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563 จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55/0203-5.pdf.
โอริสา สัจจนกุล. (2550). ปัจจัยทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหาร
ในตลาดโต้รุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Kotler, P. (2000). Marketing Management Millenium Edition. (10th ed.). Boston: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29