การสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์โดยกระบวนการกลุ่มและการแปรรูปด้วยนวัตกรรมพร้อมใช้ เพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่ ตำบลหัวเมืองอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • เกศณีย์ สัตตรัตนขจร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สนธิญา สุวรรณราช
  • แดน กุลรูป
  • สุพรรณี คำวาส
  • ปัทมา อภิชัย
  • กนกพร เอกกะสินสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพด้านผลิตภัณฑ์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลหัวเมือง รวมทั้งสังเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผักปลอดสารพิษด้วยนวัตกรรมพร้อมใช้โดยใช้กระบวนการกลุ่มและแนวทางการยกระดับการแปรรูปถ่านไม้ไผ่และถ่านเมล็ดกาแฟ รวมถึงการสร้างคุณค่าตราสินค้า
ผ่านลักษณ์ชุมชน โดยประชากรที่ใช้ศึกษา จำนวน 60 คน คือ สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 30 คน สมาชิกวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถ่านไม้ไผ่ จำนวน 20 คน และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 10 คน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตการณ์ การจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน และการค้นคว้าวิจัยจากเอกสาร ตำรา บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผู้ปลูกผักปลอดสารพิษและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถ่านไม้ไผ่ เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของตำบลหัวเมืองโดยมีการนำนวัตกรรมพร้อมใช้จากตำบลวอแก้วในการพัฒนากระบวนการทำการเกษตรอินทรีย์มาปรับใช้ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่ม ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปจากถ่านไม้ไผ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากถ่านไม้ไผ่และผสมกับสมุนไพรในท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติและมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อโรค ซึ่งในการสร้างการรับรู้ของผลิตภัณฑ์ของตำบลหัวเมืองมีการนำอัตลักษณ์ของชุมชนมาพัฒนาเป็นฉลากสินค้าโดยใช้กับผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ตำบลหัวเมือง ทำให้ผู้บริโภครับรู้เกี่ยวกับที่มาของผลิตภัณฑ์

Author Biographies

เกศณีย์ สัตตรัตนขจร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

สนธิญา สุวรรณราช

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

แดน กุลรูป

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

สุพรรณี คำวาส

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ปัทมา อภิชัย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

กนกพร เอกกะสินสกุล

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

References

พิศิษฏ์ คุณวโรตม์. (2545). อัตลักษณ์และกระบวนการต่อสู้เพื่อชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV. วิทยานิพนธ์

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทริกา ชิณช่าง. (2563). การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน งานวิจัยเชิงประจักษ์ของธุรกิจส่งออกเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 13(1), 108-120.

ผู้จัดการออนไลน์. (2562). รู้จัก Bunton ชาร์โคลโฮม มหัศจรรย์ถ่านไม้ไผ่ไทยรายแรกในไทยใช้ได้หัวจรดเท้า. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565 จาก https://mgronline.com/smes/detail/9620000032409.

มลทิพย์ บำรุงกิจ และนพดล พันธุ์พานิช. (2564). การศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ความเป็นผู้ประกอบการและปัจจัยกำหนดที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ลำปาง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 375-393.

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (2563). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะยาว 20 ปี

(2560-2575). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก http://www.plan.lpru.ac.th/web2015/

plan63_80.pdf.

วีธวัช ชัยธิมา และคณะ. (2562). ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดสารพิษ ในอำเภอสารภี

จังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร, 47(1), 191-198.

วิบูลพร วุฒิคุณ ขวัญเรือน สินณรงค์ และศักดิธัช เสริมศรี. (2562). การวิเคราะห์ศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน

ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชนบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการรับใช้สังคม

มทร.ล้านนา, 3(1), 75-82.

วารุณี สุนทรเจริญนนท์. (2557). สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการสร้างสรรค์ไม่ยากอย่างที่คิด. สืบค้นเมื่อ

ตุลาคม 2559 จาก http://www.amexteam.com/ resources/helper/editor/upload/

knowledge/1/01_.pdf.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2560-2575).

สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2020/04.

ยุทธศาสตร์ชาติ-ฉบับข้าราชการ.pdf.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2560). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติฉบับที่ 9. สืบค้นเมื่อ

ตุลาคม 2563 จาก https://www.nrct.go.th/e-publish1/policystrategy60-64/files/downloads/nrct_policy-strategy60-64_upd591011.pdf.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://www.nesdc.go.th/download/plan12.pdf.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2564). การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มูลค่าเพิ่มและความสามารถในการจัดการนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วงเพื่อการส่งออกในบริบทพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(1), 41-54.

Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. New York: Free Press.

Porter, M. E. (1998). The Competitive Advantage of Nations (Dynamic Diamond Model).

Retrieved September 14, 2021, from https://www.ioku.com/index.php/article/

e-book/1353-michael-e-porter-the-competitive-advantage-of-nations-diamond-model-of-national-advantage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29