คุณค่าตราสินค้าและการรับรู้ข้อมูลที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเดลิเวอรี่ ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวาย ในวิกฤตการณ์ภาวะโรคระบาดไวรัสโคโรน่า (COVID 19) ในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • โชฒกามาศ พลศรี
  • รัตนภรณ์ แซ่ลี้

คำสำคัญ:

คุณค่าตราสินค้า, การรับรู้ข้อมูล, กระบวนการตัดสินใจ, อาหารเดลิเวอรี่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณค่าตราสินค้า การรับรู้ข้อมูล และกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเดลิเวอรี่ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวาย ในวิกฤตการณ์ภาวะโรคระบาดไวรัสโคโรน่า ในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อศึกษาคุณค่าตราสินค้าและการรับรู้ข้อมูลที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเดลิเวอรี่ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวาย ในวิกฤตการณ์ภาวะโรคระบาด ไวรัสโคโรน่า ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยงานวิจัยนี้มีรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มประชากร คือ ผู้บริโภค
เจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวาย อายุระหว่าง 22 - 60 ปี ที่ใช้บริการซื้ออาหารเดลิเวอรี่ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติวิเคราะห์สมการถดถอยชนิดตัวแปรหลายตัว สมการถดถอยเชิงซ้อนในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง

ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณค่าตราสินค้า มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.34) การรับรู้ข้อมูล มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.41) และกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเดลิเวอรี่ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวาย ในวิกฤตการณ์ภาวะโรคระบาดไวรัสโคโรน่า ในจังหวัดอุบลราชธานี
มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.44) และ 2) การตีความหมายการรับรู้ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเดลิเวอรี่ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในวิกฤตการณ์ภาวะโรคระบาด ไวรัส
โคโรน่า ในจังหวัดอุบลราชธานี ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

Author Biographies

โชฒกามาศ พลศรี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

รัตนภรณ์ แซ่ลี้

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563. จาก http://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/search/search2.html.

ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฐานทัศน์ ชมภูพล. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน ฟู้ดเดลิเวอรี่ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 19(1), 105-116.

นิสิตา ถิ่นท่าเรือ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน Food Delivery แบรนด์ Grab Food. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัชช พานิชวงศ์. (2549). การวิเคราะห์การถดถอย = Regression analysis. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ฟู้ดเดลิเวอรี่ยุคนี้เสิร์ฟถึงบ้าน. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2563. จากhttps:// www.posttoday.com/analysis/report/361916.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ. (2563). ประเทศไทยหลังโควิด-19 ตอนที่ 1: ผลกระทบเศรษฐกิจและตลาดแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2563. จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/ Thailand-after-covid-ep.1.html.

สำนักข่าวซินหัว. (2563). อัพเดทสถานการณ์ “ไวรัสโควิด-19”. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2563. จาก https://www. thebangkokinsight.com/304240/.

สำนักงานนายกรัฐมนตรี. (2563). ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 1. กรุงเทพฯ: พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน วันที่ 25 มีนาคม 2563.

สุขุมาภรณ์ ปานมาก. (2563). การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารแบบส่งถึงที่ของผู้บริโภคจังหวัดชลบุรี.วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 5(2), 9-18.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). การประเมินผลโครงการ: หลักการและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุวัจนี เพชรรัตน์. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 143-156.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5thed. New York: Harper Collins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29