ทักษะการเรียนรู้เชิงพลวัตที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ทักษะการเรียนรู้เชิงพลวัต, ประสิทธิผลการทำงาน, ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของทักษะการเรียนรู้เชิงพลวัตของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีที่มีข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพงาน ตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทักษะการเรียนรู้เชิงพลวัตที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 251 คน โดยใช้วิธีเลือกสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดมีความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้เชิงพลวัตโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการทำงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน พบว่า ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพงาน โดยรวมแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และ 4) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของสัมประสิทธิ์การถดถอยกับประสิทธิผลการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันระดับสูงมาก การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณด้วยวิธีแบบขั้นบันได พบว่าทักษะการเรียนรู้เชิงพลวัต ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2556). มาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น.
กิตติคุณ ฐิตโสมกุล. (2560). องค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
เกศินี อุสาพรม. (2564). สมรรถนะด้านบัญชีตามรูปแบบ KUSA ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบัญชีของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 7. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(1), 175-187.
พรพนา ศรีสถานนท์. (2562). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 39(5), 262-279.
พลิศร วุฒาพาณิชย์. (2560). การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างกองทัพอากาศให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม
ระดับ 5 ดาว. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นุกูล ชิ้นฟัก นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว และศรัญลักษณ์ เทพวารินทร์. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 73-88.
ประทีป วจีทองวัฒนา. (2558). ประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี
ในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ละเอียด ศิลาน้อย. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 15(8), 112-126.
ศรีสุรัตน์ ปริสุทธิอมร. (2560). คุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมผู้นำที่มีประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สนุพงษ์ จิรชวาลวิสุทธิ์. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของนายทหารประทวนค่ายภาณุรังษี จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). โครงสร้างบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2564 จากhttps://roiet.prd.go.th/th/page/item/index/id/12.
อาณัฐ พรหมอ่อน. (2559). ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการสำนักเทคโนโลยีการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง, 6(2), 59-67.
อัมพร ปัญญา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของพนักงานส่วนท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(1), 104-113.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. (4th ed.).
New Jersey: John Wiley & Sons.
Chemers, M. & Ayman, R. (1985). Leardership Orientation as a Moderator of the Relationship between Job Performance and Job Satisfaction of Mexican Managers. Personality and Social Psyhology Bulletin, 11(4), 359-367.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Marquardt, M. J. (1996). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.
Moorhead, G. & Griffin, R. W. (2001). Organizational Behavior, Managing people and Organization. (5th ed.). New York: Houghton Mifflin Company.
Senge, M. P. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร