ทัศนะของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐชนก จริงดี

คำสำคัญ:

ทัศนะของประชาชน, การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทัศนะของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และ 2) เปรียบเทียบทัศนะของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ จำนวน 376 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวด้วยการทดสอบเอฟ และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบของ
ฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนะของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความโปร่งใส 2) เปรียบเทียบทัศนะของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อจำแนกตามเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และฝ่ายที่ติดต่อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Author Biography

ณัฐชนก จริงดี

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2556). สามแยกชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: ส่วนแผนพัฒนาท้องถิ่น.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่น: ว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อบปี้.

โกวิทย์ พวงงาม. (2555). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ชูชาติ วโรดมอุดมกูล. (2558). ความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล

ขององค์การบริหารส่วนตำบลผ่านศึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณฐภณ ชัยชนะ. (2555). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของเทศบาลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธเนศ เธียรนันท์. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลเมืองท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นนทภัสร์ ใสสุชล. (2562). ความคาดหวังของประชาชนต่อการส่งเสริมธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

พัชรี สิโรรส และคณะ. (2561). หลักธรรมาภิบาล. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

รุ่งฤดี โฉมทอง. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิทสันต์ ไร่วิบูลย์. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบล

สงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

ศรัณยา นิลประยูร. (2554) การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

ราชภัฏนครสวรรค์.

สุรเมธ ทองด้วง. (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วน ตำบลโพธิ์ทอง

อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏ

ราชวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ. (2564). แผนพัฒนาตำบล 5 ปี. สิงห์บุรี: องค์การบริหารส่วนตำบล

บ้านหม้อ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29