ผลกระทบของการรับรู้สมรรถนะการสอบบัญชีที่มีต่อการรับรู้คุณภาพรายงานการสอบบัญชี ของนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

ผู้แต่ง

  • อาภากร นาหนองขาม
  • เนตรดาว ชัยเขต

คำสำคัญ:

คุณภาพรายงานการสอบบัญชี, สมรรถนะการสอบบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของการรับรู้สมรรถนะการสอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อ
การรับรู้คุณภาพรายงานการสอบบัญชีและตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้สมรรถนะการสอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพรายงานการสอบบัญชีของนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (สายงานตรวจสอบบัญชี) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ส่วนกลาง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการศึกษาพบว่าการรับรู้สมรรถนะการสอบบัญชีประกอบด้วยปัจจัยด้านความรู้ความสามารถใน
การสอบบัญชี ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้คุณภาพรายงานการสอบบัญชี ทั้งนี้ โมเดลการวิจัยที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดีเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลการวิจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการรับรู้คุณภาพรายงานการสอบบัญชีได้ร้อยละ 72 ดังนั้นเพื่อพัฒนาคุณภาพรายงานการสอบบัญชีให้เป็นที่น่าเชื่อถือเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มการรับรู้สมรรถนะการสอบบัญชีในด้านความรู้ความสามารถในการสอบบัญชี ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ

Author Biographies

อาภากร นาหนองขาม

คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา

เนตรดาว ชัยเขต

คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา

References

กิตติคม จีนเหรียญ และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2561). อิทธิพลของความรู้ความสามารถคุณลักษณะหลักฐานการสอบบัญชีที่ดีและความสามารถทางการบริหารงานที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทยที่มีรายได้สูง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 139-150.

นวพร ขู้เปี้ยเต้ง และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุของทักษะและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานที่มีต่อคุณภาพของรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(2), 100-116.

นิตยา โพธิ์ศรีจันทร์. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบที่มีต่อผลการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 130-139.

ปิยพงศ์ ประไพศรี. (2563). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 421-435.

พจนี ศรีสุนนท์ และสมใจ บุญหมื่นไวย. (2560). การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพสอบบัญชีและคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์. วารสาร มทร. อีสานฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2),

-60.

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561. (2561, 19 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135.

ตอนที่ 27 ก. หน้า 19.

วรรณนิภา อุ่นคำ. (2557). ผลกระทบของการปฏิบัติงานสอบบัญชีเชิงรุกที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยจรรยาบรรณของ

ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2561 เล่ม 135 ตอนพิเศษ 301 ง ราชกิจจานุเบกษา.

กรุงเทพฯ: สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สายฝน อุไร. (2557). ผลกระทบของสมรรถนะการสอบบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภาณี อินทน์จันทน์. (2559). จรรยาบรรณตามข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในจังหวัดนครปฐม. ในสถาบันวิจัยและพัฒนา ราชภัฏนครปฐม (บรรณาธิการ), บูรณาการศาสตร์และศิลป์ งานวิจัยท้องถิ่นไทยและประชาคมอาเชียน. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 (715-726) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2564). สัมภาษณ์. 1 มีนาคม 2564.

Anderson, J. C. & Gerbing, D. W. (1988). Structural Equation Modeling in Practice: A Review and Recommended Two-Step Approach. Psychological Bulletin, 103(3), 411-423.

Curtis, M. B. & Payne, E. A. (2008). An Examination of Contextual Factors and Individual Characteristics Affecting Technology Implementation Decisions in Auditing. International Journal of Accounting Information Systems, 9(2), 104-121.

Furiady, O. & Kurnia, R. (2015). The Effect of Work Experiences, Competency, Motivation, Accountability and Objectivity towards Audit Quality. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 211, 328-335.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7thed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Octavia, E. & Widodo, N. R. (2015). The Effect of Competence and Independence of Auditors on the Audit Quality. Research Journal of Finance and Accounting, 6(3), 189-194.

Zabihollah, R. & Alan, R. (2008). The Impact of Emerging Information Technology on Auditing. Middle Tennessee State University. Managerial Auditing Journal, 13(8), 465-471.

Zahmatkesh, S. & Rezazadeh, J. (2017). The Effect of Auditor Features on Audit Quality. Tékhne, 15(2), 79-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29