อิทธิพลของการยอมรับการใช้งานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานทางบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ผู้แต่ง

  • กฤชนล คุณชื่น
  • ดารณี เอื้อชนะจิต

คำสำคัญ:

การยอมรับการใช้งาน, ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์, ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานทางบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ประโยชน์ของระบบ การรับรู้ความง่ายของระบบ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่มีต่อการยอมรับการใช้งานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และ 2) ศึกษาอิทธิพลของการยอมรับการใช้งานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานทางบัญชี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบัญชีและการเงินที่ปฏิบัติงานในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 400 ราย มีการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ประโยชน์ของระบบ การรับรู้ความง่ายของระบบ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการยอมรับการใช้งานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 นอกจากนี้การยอมรับการใช้งานระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานทางบัญชี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

Author Biographies

กฤชนล คุณชื่น

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ดารณี เอื้อชนะจิต

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

References

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคทางออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.

ในการประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่12 (24-25). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ขวัญใจ พุ่มจันทร์ และศรัณย์ ธิติลักษณ์. (2562). การยอมรับระบบการชำระเงินแบบคิวอาร์โค้ดเพย์เมนต์ของผู้ประกอบการค้า และผู้บริโภคในเขตปทุมวัน. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(3), 13-22.

จิราภรณ์ พิสมัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการพร้อมเพย์ (PromptPay) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลธิชา ศรีแสง. (2555). การยอมรับการใช้งานของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาธนาคาร

กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 4(1), 35-51.

เทวกุล ชูช่อ สุเมธ แก่นมณี และจักรกฤช เจียวิริยะบุญญา. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์กับปริมาณเงินในประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 215-219.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). สังคมไทยกำลังไร้เงินสด. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564 จาก https:// www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/Pages/FAQ169.aspx.

ธัญยากร ขวัญใจสกุล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการชำระเงินผ่านระบบโมบาย

แบงก์กิ้งและระบบโมบายเพย์เม้นต์. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นุชรี จินดาวรรณ. (2559). การทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง กรณีศึกษา ลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดพัทลุง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราณี มีหาญพงษ์ และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2561). การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย

ทางการพยาบาล.วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 9-15.

ภูวดล แสงทอง. (2560). Information Security. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564 จาก http:// www1.ldd.go.th/WEB_CIT/File/PWP_UnitSchool_27112017.pdf.

วรกฤต แสนโภชน์. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ระบบฐานข้อมูล. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

วริศรา สอนจิตร. (2557). ความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน. วิทยานิพนธ์ปริญญา

การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). e-Payment การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์.

สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564 จาก https://www.etda.or.th/th/Our-Service/Standard-(1).

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564 จาก https://www.sme.go.th/upload/

mod_download/download-20210825103143.pdf.

สุนันทา หลบภัย. (2558). การรับรู้ถึงความปลอดภัย ประโยชน์การใช้งาน และความง่ายในการใช้งานที่มีผลต่อการใช้บริการชำระเงินผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.

การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุวรรณี มาน้อย. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการชำระเงินด้วย QR Code ผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อมราลักษณ์ สุภาพินิจ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานทางการบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงาน ของนักบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาของไทย. สืบค้นเมื่อ: 29 สิงหาคม 2564 จาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5301.

อุสุมา ศักดิ์ไพศาล. (2556). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Amaro, S. & Duarte, P. (2015). An Integrative Model of Consumer’ Intentions to Purchase Travel Online. Tourism Management, 46, 64-79.

Cronbach, L. J. (2003). Essential of Psychology Testing. New York: Hanpercollishes.

Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance on Information Technology. MIS Quarterly, 13(3): 319-339.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education International.

Khalid, E. A. (2013). HRM Practices and Employee Performance in Public Sector Organizations in Pakistan: An Empirical study. International Journal of Management Sciences and Business Research, 3(2), 69–77.

Nurittamont, W. (2017). Understanding the Role of Technology Acceptance Influence on Internet Banking Intention: An Empirical Study in Consumer of Commercial Bank. International Journal of Applied Computer Technology and Information Systems, 6(2), 28-33

Rittiboonchai, W., Kriwuttisom, P. & Ngo, T. M. T. (2019). Factors Affecting Online Shopping Behavior of Thai and Vietnamese Female Students. RMUTT Global Business Accounting and Finance Review, 2(2), 25-34.

See, S. S., Khalil, M. N. & Ameen, M. A-a. (2012). Factors Affecting Malaysian Young Consumers’ Online Purchase Intention in Social Media Websites. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 40, 326-333.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29