อิทธิพลของรูปแบบการฝึกอบรม สภาพแวดล้อม และวิธีการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อแรงจูงใจ ในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรระดับปฏิบัติการ บริษัท มิลลิเมด จำกัด

ผู้แต่ง

  • พรชัย ซิ้มสกุล
  • จิระพงค์ เรืองกุน

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การฝึกอบรม, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรระดับปฏิบัติการบริษัท มิลลิเมด จำกัด และ 2) วิเคราะห์อิทธิพลของรูปแบบการฝึกอบรม สภาพแวดล้อม และวิธีการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรระดับปฏิบัติการ บริษัท มิลลิเมด จำกัด โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างจากพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัท มิลลิเมด จำกัด ที่มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป จำนวน 233 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยการแจกแจงความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ระดับแรงจูงใจด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรที่มีต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรระดับปฏิบัติการ บริษัท
มิลลิเมด จำกัด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยแรงจูงใจระหว่างการฝึกอบรม และแรงจูงใจหลังการฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแรงจูงใจก่อนการเข้าร่วมฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก 2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมในภาพรวม ได้แก่ การติดตามผล การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา เนื้อหาฝึกอบรม โอกาสในการใช้ความรู้ และวิธีการประชาสัมพันธ์ สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรในภาพรวมได้ร้อยละ 52.7 (R2 = .527) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจก่อนการฝึกอบรม ได้แก่ วิธีการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร และการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา สามารถพยากรณ์แรงจูงใจก่อนการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรได้ร้อยละ 43.1 (R2 = .431) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจระหว่างการฝึกอบรม ได้แก่ การติดตามผล การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และเนื้อหาฝึกอบรม สามารถพยากรณ์แรงจูงใจระหว่างการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรได้ร้อยละ 35.4 (R2 = .354) และตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจหลังการฝึกอบรม ได้แก่ การติดตามผล เนื้อหาฝึกอบรม โอกาสในการใช้ความรู้ และการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา สามารถพยากรณ์แรงจูงใจหลังการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากร ได้ร้อยละ 48.4 (R2 = .484) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบเนื้อหาการฝึกอบรม การสร้างสภาพแวดล้อมของการฝึกอบรม และการกำหนดวิธีการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบุคลากรต่อไป

Author Biographies

พรชัย ซิ้มสกุล

คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

จิระพงค์ เรืองกุน

คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

References

ชมพู เนินหาด สุชาดา นิ้มวัฒนากุล และปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์. (2561). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาตน พัฒนางานอย่างสร้างสรรค์: กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(2), 217-230.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธันธวัช เหลือชม และชลธิศ ดาราวงษ์. (2563). ปัจจัยด้านการฝึกอบรมด้านระบบการจัดการคุณภาพ (ISO 9001) ที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทรับสร้างโรงงานผลิตเหล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(3), 185-196.

มะลิวรรณ์ ชนะภัยรี อภิญญา อิงอาจ พรชนก อจลบุญ และธีระชินภัทร รามเดชะ. (2560). รูปแบบอิทธิพลของปัจจัยการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมของผู้บริหารองค์การ ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 71-87.

เลิศนภา พงษ์ดำ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอนของข้าราชการครู: กรณีศึกษา โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิภัคฉณัฏฐ์ นิมิตพันธ์ และศิริจันทรา พลกนิษฐ. (2559). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ภายใต้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(1), 21-31.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สาครินทร์ หรูมิ่งมงคล. (2562). การพัฒนาข้าราชการศาลยุติธรรมตามหลักสมรรถนะในยุคศาลดิจิทัล:กรณีศึกษาสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 6. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.

Baldwin, T. T. & Ford, K. J. (1988). Transfer of Training: A Review and Directions for Future Research. Personnel Psychology, 41(1), 63-105.

Hamadamin, H. H. & Atan, T. (2019). The Impact of Strategic Human Resource Management Practices on Competitive Advantage Sustainability: The Mediation of Human Capital Development and Employee Commitment. Sustainability, 11(20), 1-19.

Holton, E., Bates, R. & Ruona, W. (2000). Development of a Generalized Learning Transfer System Inventory. Human Resource Development Quarterly, 11(4), 333-360.

Shaheen, S. & Soomro, K. A. (2022). Transfer of Training and Job Performance: Analysis of Development Sector in Pakistan. Journal of Entrepreneurship, Management, and Innovation, 4(1), 27-57.

Wanjogo, J. W. & Muathe, S. M. (2022). Gaining Competitive Advantage through Generic Strategies in Medical Training Colleges in Kenya. International Journal of Research in Business and Social Science, 11(2), 29-41.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rded). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29