องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ผู้แต่ง

  • จินดา ระดาสาร
  • ภัทริยา พรหมราษฎร์

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, ความสำเร็จขององค์กร, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จขององค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบขององค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือหัวหน้าหน่วยงานที่ผ่านการประเมินและรับรองเป็นศูนย์ราชการสะดวกของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) องค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีความสำเร็จขององค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์องค์กรแห่งการเรียนรู้กับความสำเร็จขององค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พบว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านพลวัตแห่งการเรียนรู้ และด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีความสัมพันธ์และส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จขององค์กรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Author Biographies

จินดา ระดาสาร

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ภัทริยา พรหมราษฎร์

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

References

กองสวัสดิการฝ่ายบริการทรัพยากรบุคคล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2563). วิสัยทัศน์ ภารกิจ ค่านิยม. สืบค้นเมื่อ12 กันยายน 2563 จาก https://www.pea.co.th/.

กิตติคุณ ฐิตโสมกุล. (2560). องค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสทธิภาพการทำงานของบุคลากรหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

กิตติยา อินทกาญจน์. (2553). การเรียนรู้ระดับบุคคลและระดับทีมขององค์กร: กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติได้ทำการศึกษาการเรียนรู้ขององค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. วารสาร

พัฒนบริหารศาสตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 51(1), 201-219.

จักรกฤษณ์ เปรมสมิทธ์. (2559). การจัดการความรู้ในสถานศึกษาบูรณาการกับเทคโนโลยีสารสนเทศและ

การสื่อสารเพื่อมุ่งสู่องค์กรอัจฉริยะ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 6(12), 11-20.

ดนัย ปัตตพงศ์. (2562). ศาสตร์การวิจัยและสถิติประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ธนาภรณ์ บุญทอง. (2561). การพัฒนาศักยภาพในการทำงานของบุคลากร: กรณีศึกษา กองสถานที่ ยานพาหนะ และรักษาความปลอดภัย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เผด็จ อมรศักดิ์. (2558). การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่เป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิยดา พิเนตร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการจัดเก็บภาษีที่ดีกับความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2563). ศูนย์บริการประชาชน. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.opm.go.th/opmportal/index.asp?pageid=1557#gecc.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563 จากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6422.

สุวิมล จอดพิมาย และชวนชม ชินะตังกูร. (2560). องค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ที่เป็นเลิศของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(2),

-225.

Marquardt, M. J. (2002). Building the Learning Organization: Mastering the 5 Elements for Corporate Learning. California: Devies-Black Publishing.

Voulalas, D. & Sharpe, G. (2005). Creating School as Learning Communities: Obstacles and Processes. Journal of Educational Administration, 43(2), 187-208.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29