การจัดการระบบควบคุมคุณภาพการผลิต ต้นทุน และผลตอบแทน ในการผลิตสินค้าหอมแดงศรีสะเกษ ตามมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • สุภาพร อามาตย์

คำสำคัญ:

การจัดการระบบควบคุมคุณภาพการผลิต, ต้นทุนผลตอบแทน, มาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ไทย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนผลิตหอมแดง
ศรีสะเกษ ตามมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในพื้นที่จังหวัด
ศรีสะเกษ 2) ศึกษาการจัดการระบบควบคุมคุณภาพการผลิตหอมแดงศรีสะเกษ ตามมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงจำนวน 135 คน
ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอยางชุมน้อย อำเภอราษีไศล อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอวังหิน ของจังหวัดศรีสะเกษ
ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและคุ้มครองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สินค้าหอมแดงศรีสะเกษ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ประจำปี พ.ศ. 2562 และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์และการประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและคณะทำงานพิจารณาคำขอตรวจสอบควบคุมคุณภาพ รวมทั้งสิ้น 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตหอมแดงศรีสะเกษ ตามมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ประกอบด้วยต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าซื้อหัวหอมพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ค่าแรงงานในการไถแปลงปลูก และเก็บเกี่ยว ค่ายาฆ่าแมลง ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น จำนวน 38,780 บาทต่อไร่ และต้นทุนคงที่ คือ ค่าเสื่อมราคาโรงเรือน จำนวน 100 บาทต่อปี รวมต้นทุนในการผลิตหอมแดงทั้งสิ้น จำนวน 38,880 บาทต่อไร่ มีจุดคุ้มทุน จำนวน 3,505.86 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลตอบแทน จำนวน 84,573 บาทต่อไร่ มีอัตรากำไรขั้นต้น ร้อยละ 54.03 และมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROA) ค่อนข้างสูงมากคือ ร้อยละ 91.39

2. การจัดการระบบควบคุมคุณภาพการผลิตหอมแดงศรีสะเกษตามมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) พบว่า เกษตรกรที่ปลูกหอมแดงศรีสะเกษจะมีการจัดการระบบควบคุมคุณภาพการผลิตโดยใช้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ได้แก่ แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูก การใช้วัตถุอันตราย การเก็บรักษา การขนย้ายผลิตผลภายในแปลง
การบันทึกข้อมูล การผลิตให้ปลอดภัย การจัดการกระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหอมแดงที่ได้รับการรับรอง GI และเป็นสินค้าเกษตรที่ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรต่อไป

Author Biography

สุภาพร อามาตย์

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. (2563). รายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมและคุ้มครองสินค้า

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) สินค้า หอมแดงศรีสะเกษ.

กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.

จีระนันท์ วงศ์วทัญญู และคณะ. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง การผลิตและต้นทุนการผลิตหอมแดงในเขตพื้นที่อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ดวงหทัย นาคเสวก. (2560). ระบบควบคุมตรวจสอบสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามกฎหมายไทย: ศึกษากรณีข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้. การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ตะวัน เดชภิรัตนมงคล. (2561). การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิดภายใต้ระเบียบประชาคมยุโรป เลขที่ 1151/2012 ว่าด้วยระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหาร. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 9(1), 74-89.

ชไมพร ใจภิภักดิ์. (2563). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับฟาร์มโคนมของผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(4), 563-570.

มนัญชยา เรืองวงศ์โรจน์. (2558). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรผู้ผลิตพืช เทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 18-24.

วนัสนันท์ งวดชัย และคณะ (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกหอมแดง ในพื้นที่อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(3), 121-122.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ. (2563). สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563 จาก http//sisaket.doae.go.th.

สํานักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ. (2563). โครงการส่งเสริมและคุ้มครองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย

สินค้าหอมแดงศรีสะเกษ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ประจำปี 2562.

สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2563 จาก https://sisaket.moc.go.th.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introduction Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30