การวิเคราะห์โซ่คุณค่าพริกไทยของอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • อรวิลัญช์ญา อุไรศรีพงศ์
  • ฐิติมา วงศ์อินตา

คำสำคัญ:

โซ่อุปทาน, พริกไทย, แผนภูมิเพชร, กลยุทธ์การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ, กลยุทธ์โทวส์แมทริกซ์

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์โซ่คุณค่าและเสนอแนวทางในการยกระดับ
โซ่คุณค่าของพริกไทย ในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องในโซ่คุณค่าประกอบด้วย 1) เกษตรกรผู้ปลูกพริกไทย ในเขตพื้นที่อำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี จำนวน 148 ราย
2) ผู้รวบรวม ผู้รับซื้อ ผู้แปรรูป จำนวน 15 ราย และ 3) ผู้ค้าปลีก ผู้ขายในร้านของฝาก ชุมชน ตลาดและอื่น ๆ จำนวน 10 ราย จากนั้นวิเคราะห์สถานการณ์การแข่งขันโดยใช้แผนภูมิเพชร (Diamond Model) รวมทั้งการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) นำเสนอกลยุทธ์ในการยกระดับโซ่คุณค่าพริกไทยจังหวัดจันทบุรีโดยการวิเคราะห์ TOWS Matrix

ผลการศึกษาพบว่า กระบวนส่วนต้นน้ำ คือ ตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณพริกไทย สาเหตุสำคัญเกิดจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ราคาสูงและมีตลาดรองรับที่มั่นคงกว่า อีกทั้งต้นทุนการปลูกที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาผลผลิต รวมถึงค่าแรงในการเก็บเกี่ยวค่อนข้างสูง จึงทำให้เกษตรกรโค่นต้นพริกไทยทิ้งเพื่อปลูกพืชที่ตลาดต้องการทดแทน ทั้งนี้การลดลงของพริกไทยเกิดจากสาเหตุอื่นในกระบวนการกลางน้ำและปลายน้ำร่วมด้วย เช่น การแปรรูปที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน การนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ค่อนข้างน้อย  การถูกกำหนดราคาซื้อขายจากรายใหญ่ บรรดาผู้ประกอบการรายเล็กไม่มีอำนาจต่อรองตลาด มีการลักลอบนำเข้าพริกไทยจากต่างประเทศอย่างผิดกฎหมาย เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าพริกไทยในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ด้วยการเสนอ 4 กลยุทธ์ ตามทฤษฎี TOWS Matrix ดังนี้  1) กลยุทธ์เชิงรุก เป็นหน้าที่ที่ต้องทำร่วมกันทั้งส่วนต้นน้ำ ส่วนกลางน้ำและปลายน้ำ ที่ต้องกำหนดค่ามาตรฐานเพื่อเป็นเครื่องรับรองคุณภาพพริกไทยจากประเทศไทยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตลาดสากล เน้นการส่งออกขายยังต่างประเทศ 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข ทำได้จากส่วนต้นน้ำ คือเกษตรกร ต้องเพิ่มปริมาณการปลูกพริกไทยและเพิ่มราคาผลผลิตพริกไทยให้สูงขึ้นด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น พริกไทยออร์แกนิค เป็นต้น 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ รัฐบาลควรมีการประกันราคาพริกไทยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เฝ้าระวังป้องกันและปราบปรามพริกไทยที่ลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย  4) กลยุทธ์เชิงรับ คือ การสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งของกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการรายเล็กเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการกำหนดราคาผลผลิตและลดการผูกขาดจากรายใหญ่

Author Biographies

อรวิลัญช์ญา อุไรศรีพงศ์

คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ฐิติมา วงศ์อินตา

คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

เกศริน ต่ายแต้มทอง. (2563). เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการการเกษตร. สำนักงานเกษตรอำเภอท่าใหม่

จังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์. 15 สิงหาคม 2563.

กฤษณา จันทร์คล้าย. (2552). การวิเคราะห์โซ่อุปทานยางพาราของการสร้างมูลค่าเพิ่ม. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

จุฑารัตน์ เสธา. (2558). แนวทางการพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานเพื่อการส่งออกน้ำมันกฤษณา: กรณีศึกษาผู้ประกอบการผลิตและส่งออกน้ำมันกฤษณาสู่พ่อค้าคนกลาง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). ปริมาณครัวเรือนที่ปลูกพริกไทยในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.oae.go.th/assets/

portals/1/fileups/prcaidata/files/holdland%20pepper 63.pdf.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). ปริมาณการส่งออกนำเข้าพริกไทยและมูลค่าการส่งออกนำเข้าพริกไทย. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565 จากhttp://impexp.oae.go.th/

service/import.php?S_YEAR=2559&E_YEAR=2564&PRODUCT_GROUP=5251&PRODUCT_ID=3826&wf_search=&WF_SEARCH=Y.

อภิญญา นนท์นาท. (2561). พริกไทยงอกงามบนแผ่นดินจันทบูร. วารสารเมืองโบราณ, 44(1), 80-91.

Porter, M. E. (1998). The Compettitive Advantage of Nations: With A New Introduction.

New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30