การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกแตงโมเกษตรกร กรณีศึกษา ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ต้นทุน, การวิเคราะห์ผลตอบแทนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์ต้นทุนการปลูกแตงโมเกษตรกร 2) วิเคราะห์ผลตอบแทนการปลูกแตงโมเกษตรกร 3) เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกแตงโมเกษตรกร กรณีศึกษาตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เกษตรกรกลุ่มปลูกแตงโม จำนวน 19 คน จากตําบลท่าก้อน 7 หมู่บ้าน มีขนาดพื้นที่ในการเพาะปลูกแตงโม จำนวน 361 ไร่ ใช้วิธีแบบเจาะจง โดยการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นทุนการผลิตซึ่งประกอบด้วยวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยต้นทุนการผลิตโดยรวม 3,112,760 บาทต่อปี ต้นทุนรวม 8,622 บาทต่อไร่ ซึ่งต้นทุนส่วนใหญ่เป็น ค่าใช้จ่ายในการผลิต ประกอบด้วย ต้นทุนคงที่ คือ ค่าเช่าที่ดิน ต้นทุนผันแปร คือ ค่ายาปราบวัชพืช ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าน้ำมันหล่อลื่นและค่าปุ๋ย 1,1190,060 บาทต่อปี 3,297 บาทต่อไร่ ต้นทุนรองลงมาค่าแรงทางตรง คือ ค่าแรงงานเตรียมดิน ค่าแรงงานการวางสายน้ำหยดและคลุมผ้ายางและเพาะเมล็ดใส่ถาดหลุม ค่าแรงงานการปลูกแตงโม ค่าแรงงานใส่ปุ๋ย ค่าแรงงานกำจัดศัตรูพืชและกำจัดวัชพืช ค่าแรงงานตัดหญ้า ค่าแรงงานผสมดอกและตัดแต่งกิ่งและค่าแรงงานการเก็บเกี่ยว 1,165,530 บาทต่อปี 3,229 บาทต่อไร่ และต้นทุนวัตถุดิบทางตรง คือ
ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าสายน้ำหยดและผ้ายาง 757,170 บาทต่อปี 2,097 บาทต่อไร่ 2) ผลตอบแทนจากการปลูกแตงโมโดยรวม 5,327,240 บาทต่อปี 14,757 บาทต่อไร่ 3) การเปรียบเทียบผลตอบแทนกับต้นทุนจากการปลูกแตงโมผลตอบแทน 8,440,000 บาทต่อปี ต้นทุนการผลิต 3,112,760 บาทต่อปี ได้กำไร 5,327,240 บาทต่อปี คิดเฉลี่ยกำไร 14,757 บาทต่อไร่ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผลิตผลและรายได้ลดลง คือโรคระบาดและการตลาดที่เป็นการผูกขาดจากพ่อค้าคนกลางในการรับซื้อ ถ้าเกษตรกรลดค่าใช้จ่ายส่วนต้นทุนค่าแรงงานได้จะทำให้เกษตรกรเพิ่มผลตอบแทนได้มากขึ้นและเกษตรกรมีตลาดค้าส่งโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางจะทำให้มีรายได้ที่ยั่งยืน
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). คลังความรู้. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564 จาก http://www.doae.go.th.
แก้วมณี อุทิรัมย์ ผกามาศ บุตรสาลี และสายฝน อุไร. (2564). การเพิ่มผลิตผลการปลูกแตงโมกลุ่มในชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารและวิจัย มหาวิทยาลัย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 43-57.
แก้วมณี อุทิรัมย์ และคณะ. (2562). การเพิ่มมูลค่าและพัฒนารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของ
กลุ่มโรงสีข้าว บ้านหัวดง ตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 111-120.
ธนยา พร้อมมูล. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกสับประรด กรณีศึกษาเกษตรกร
รายย่อย ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
นงลักษณ์ โคตรสมบัติ เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และภรณี ต่างวิวัฒน์. (2559). การปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตแตงโมเกษตรกร จังหวัดนครพนม. ใน อัญชลี ตัตตะวะศาสตร์ (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ (485-493). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). ข้อมูลรายชื่อวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564 จาก https://smce.doae.go.th/document.php.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร