การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการตลาดอิงการกุศล การสร้างคุณค่าทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ
คำสำคัญ:
การตลาดอิงการกุศล, การสร้างคุณค่าทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, เครื่องสำอางที่ทำมาจาก วัตถุดิบธรรมชาติบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตลาดอิงการกุศล การสร้างคุณค่าทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และ 3) เพื่อศึกษาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของการตลาดอิงการกุศลที่ส่งผลต่อการสร้างคุณค่าทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ซื้อผลิตภัณฑ์ โดยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (อีสานใต้) ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี จำนวนทั้งสิ้น 8,992,510 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ด้วยค่าทางสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงอนุมาน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัย และวิเคราะห์อิทธิพลระหว่างตัวแปร และประเมินผลโดยใช้สถิติ Z – Test เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ด้วยโปรแกรม SPSS/PC AMOS Version 23.0 ผลการศึกษา ดังนี้ 1) พบว่า เป็นเพศหญิง จำนวน 387 คน คิดเป็นร้อยละ 79.0 มีอายุระหว่าง 18 – 38 ปี จำนวน 371 คน คิดเป็นร้อยละ 75.7 การศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 275 คน คิดเป็นร้อยละ 56.1 มีรายได้ส่วนบุคคลต่อเดือน 10,000 บาทหรือต่ำกว่า จำนวน 261 คน คิดเป็นร้อยละ 53.3 อาชีพนักศึกษา จำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยละ 51.6 มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม 1 – 3 ปี จำนวน 314 คน คิดเป็นร้อยละ 64.1 2) ระดับความคิดเห็นด้านการตลาดอิงการกุศลของผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีจากความสำคัญกับความเหมือนและความต่างระหว่างผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมกับปัญหามากที่สุด ( = 4.09) ด้านการสร้างคุณค่าทางการตลาดเรื่องคุณภาพ ( = 4.09) และด้านการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เรื่องความตั้งใจซื้อ ( = 4.16) 3) ผลการศึกษารูปแบบการตลาดอิงการกุศลที่ดีนั้นมีความสัมพันธ์กับการสร้างคุณค่าทางการตลาด พบว่า c2/df = 1.746, df = 20, P = .021, GFI = .984, RMR = .007, RMSEA = .039, ผ่านตามเกณฑ์พิจารณา แสดงว่ารูปแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยร้านค้าทั่วไปสามารถนำผลการศึกษามาวางแผน กำหนดกลยุทธ์ในสร้างการตลาดอิงการกุศลสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยใส่ใจด้านคุณภาพและส่งผลทำให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการตั้งใจในการซื้อสินค้าต่อไป
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2564). สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564. กรุงเทพฯ: มงคลการพิมพ์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โกศล น่วมบาง. (2562). การสร้างการรับรู้ตราสินค้าใหม่เพื่อความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภค. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทำนอง ชิดชอบ และนลิน เพียรทอง. (2561). การวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบของปัจจัยการตลาดเพื่อสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). พรมแดนความรู้ด้านการวิจัยและสถิติ. ชลบุลี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุษยมาส ชื่นเย็น. (2562). การศึกษาการรับรู้ของผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมในเขตภาคในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (อีสานใต้). วารสาร
ศรีวนาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(1), 121-135.
ปุณชญา ใจภักดี และนภวรรณ ตันติเวชกุล. (2562). ความใส่ใจสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อตราสินค้า เพื่อสิ่งแวดล้อมของเจเนอเรชันวาย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(55), 83-109.
พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ. (2552). องค์ประกอบการตลาดอิงการกุศลที่มีผลต่อความตั้งใจสนับสนุน
ของผู้บริโภคไทย. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ผู้บริโภคเต็มใจจ่าย เพื่อสินค้าและบริการรักษ์โลก. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2564 จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Green-FB-12-10-21.aspx.
สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย. (2565). เครื่องสำอางไทย. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2565 จาก https://www.thaicosmetic.org/index.php/tcmanews/news-from-media/89-3-3.
สํานักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). สถิติประชากร. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2565 จาก https://www.bora.dopa.go.th.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 13. (2565). สถานที่และศูนย์ราชการ. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565 จาก https://reo13.moe.go.th/2020-01-14-09-18-34/13-13/53-e-office.
สิริพัฒนัญ ชินเศรษฐพงศ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนีรัตน์ ปิ่นตุรงค์. (2563). ทัศนคติและพฤติกรรมต่อการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
หทัยภัทร วิทุรานิช. (2563). อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความผูกพันของผู้บริโภคผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจตราสินค้าแฟชั่น. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรินทร์ อินทร์แจ้ง. (2560). อิทธิพลของคุณค่ารับรู้ด้านราคา คุณค่าที่รับรู้ด้านอารมณ์ และคุณภาพการให้บริการต่อ ความพึงพอใจ ความผูกพัน และความจงรักภักดีของลูกค้าร้าน Amity coffee
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อาภา เอกวานิช. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อุดม ชนะสิทธิ์. (2557). รูปแบบกิจกรรมการตลาดอิงการกุศลเพื่อสังคมในมิติผบู้ริโภคไทย. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
Aaker, D. A. (2014). Aaker on Branding 20: Principles that Drive Success. New York: Morgan James Publishing.
Aly Hussien Aly Abdou, S. (2022). The Relationship Between Green Marketing and Consumers’ Buying Behavior Towards Green Products. A Field Study on Organic Food Industries in Egypt. Shereen Aly Hussien Aly Abdou, 36(2), 57-107.
Andini, C. et al. (2022). The Study of Japanese Women in the Facial Treatment Advertisement:
A Semiotics Perspective of Pierce’s Theory. ELS Journal on Interdisciplinary Studies in Humanities, 5(2), 337-347.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Cronbach, L. J. (2003). Essential of Psychology Testing. New York: Harper.
Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A. (2000). Introduction to LISREL: A Guide for the Uninitiated. London: SAGE Publications.
Haddock, et al. (2022). Climate Change and Gastroenterology: Planetary Primum non Nocere and How Industry Must Help. The American Journal of Gastroenterology, 117(3), 394-400.
Kaur, B., Gangwar, V. P., & Dash, G. (2022). Green Marketing Strategies, Environmental Attitude, and Green Buying Intention: A Multi-Group Analysis in an Emerging Economy Context. Sustainability, 14(10), 6107.
Kotler, P. & Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility. New Jersey: John Wiley & Sons.
Kotler, P. & Keller, K. (2016). Marketing Management. (15th ed). New Jersey: Pearson Education.
Mogaji, E. et al. (2022). Green Marketing in Emerging Economies: Communication and Brand Perspective: An Introduction. London: Palgrave Macmillan.
Phiothongon, N. (2019). Behavioral Model of Environmentally Friendly Consumption. Kasem Bundit Journal, 20(special), 121 – 128.
Rusyani, E. et al. (2022). The Drilling Method Application Using Abacus to Arithmetic Operations Skills in Student with Hearing Impairment at Special School. Indonesian Journal of Community and Special Needs Education, 2(1), 1-10.
Sangon, A. (2022). Air Pollution and Mortality from Covid-19 in Thailand. Journal Valaya
Alongkorn Rajabhat University Under Royal Patronage, 12(3), 134–146.
Terblanche, N. S., Boshoff, C. & Eck, H. V. (2022). The Influence of Cause-related Marketing Campaign Structural Elements on Consumers’ Cognitive and Affective Attitudes and Purchase Intention. International Review on Public and Nonprofit Marketing, 7(5),
-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร