ความสัมพันธ์ระหว่างการนำ TFRS 15 เรื่องรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้ามาใช้ความสามารถและอัตราส่วนในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
คำสำคัญ:
รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า, ความสามารถในการทำกำไร, กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนำ TFRS 15 เรื่องรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้ามาใช้ และอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร ก่อนและหลังการปรับใช้ TFRS 15 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ถึง ไตรมาส 3 ปี 2563 จำนวน 385 ตัวอย่าง จากฐานข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อนำมาคำนวณอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ และการทดสอบทางสถิติที่ไม่มีพารามิเตอร์ Wilcoxon Signed-Rank Test
จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณพบว่าการนำ TFRS 15 มาปรับใช้ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร ซึ่งได้แก่ อัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (P > .05) ผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาเพิ่มเติมด้วยการทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างความสามารถในการทำกำไรก่อนและหลังการนำ TFRS 15 มาใช้ด้วย Wilcoxon Signed-Rank Test สรุปได้ว่าหลังจากที่บริษัทกลุ่มตัวอย่างนำ TFRS 15 มาใช้ ทำให้อัตราส่วนกำไรขั้นต้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05)
References
จุฑามาส จรุงกลิ่น. (2555). ปัจจัยที่กำหนดความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564 จาก https://classic.set.or.th/set/commonslookup.do?language=th&country=TH.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาสน์การพิมพ์.
วิรุฬห์ ลํากูล. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการทํากําไรของธนาคารพาณิชย์: กรณีศึกษาธนาคารขนาดใหญ่ 5 อันดับแรกในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วงศ์มณี ชวาลวรรณ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2563). ผลกระทบจากการปรับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้าที่มีต่อคุณภาพกำไร. วารสารวิชาชีพ, 16(51),
-22.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และอนุวัฒน์ ภักดี. (2562). รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า: หลักการรับรู้รายได้.
วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 1(1), 1-17.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และอนุวัฒน์ ภักดี. (2563). การนำ TFRS 15 มาถือปฏิบัติในปีแรกส่งผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร. วารสารวิชาชีพ, 11(50), 23-42.
ษิรินุช นิ่มตระกูล และวิริยา ไชยาคำ. (2565). ผลกระทบจากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้าที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. ใน สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day 2565 (477-496). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สภาวิชาชีพบัญชี. (2561). มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า.
สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564 จาก https://www.tfac.or.th/upload/9414/AurJJ4EpJN.pdf.
สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2552). สถิติที่ไม่ใช้พารามิเตอร์. กรุงเทพฯ: บริษัท จามจุรีโปรดักส์.
อโนทัย ตรีวานิช. (2552). สถิติธุรกิจ. ขอนแก่น: สำนักพิมพ์ ขอนแก่นการพิมพ์.
Ciesielski, J. T. & Weirich, T. R. (2011). Convergence Collaboration: Revising Revenue Recognition. Management Accounting Quarterly, 12(3), 18–27.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Hinkle, D. E., Wiersma, W. & Jurs, S. G. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. (4th ed.). Chicago: Rand McNally College Publishing.
Landsman, W. R. & Maydew, E. L. (2002). Has the Information Content of Quarterly Earnings Announcements Declined in the Past Three Decades? Journal of Accounting Research, 40(3), 797-808.
Subramanyam, K. (2014). Financial Statement Analysis. (4th ed.). New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร