ปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายแก่สาธารณชนเป็นครั้งแรกและการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ จันทรวงศ์
  • พัทธนันท์ เพชรเชิดชู
  • ศิริเดช คำสุพรหม
  • พนารัตน์ ปานมณี

คำสำคัญ:

ผลตอบแทนเริ่มแรก, หลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายแก่สาธารณชนเป็นครั้งแรก, การจัดการกำไรตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายแก่สาธารณชนครั้งแรก และความสัมพันธ์กันระหว่างการจัดการกำไรโดยใช้ดุลยพินิจผู้บริหารกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายแก่สาธารณชนครั้งแรกใน พ.ศ. 2557 - 2561 กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มบริษัท
ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ที่ออกจำหน่ายหลักทรัพย์ต่อสาธารณชนครั้งแรกระหว่าง
พ.ศ. 2557 - 2561 จำนวน 56 บริษัท และสถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

       ผลการศึกษาพบว่าอัตราการเติบโตของยอดขาย (2 ปีก่อนเข้าตลาด) และอัตราการเติบโตของของกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (3 ปีก่อนเข้าตลาด)
มีอิทธิพลต่อผลตอบของหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 อัตราการเติบโตของยอดขาย (3 ปีก่อนเข้าตลาด) อัตราการเติบโตของของกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (2 ปีก่อนเข้าตลาด) ไม่มีอิทธิพลต่อผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก และผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก และการจัดการกำไรไม่มีความสัมพันธ์กัน

Author Biographies

จิราภรณ์ จันทรวงศ์

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

พัทธนันท์ เพชรเชิดชู

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ศิริเดช คำสุพรหม

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

พนารัตน์ ปานมณี

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

References

เปรมารัช วิลาลัย. (2562). การจัดการกำไรผ่านการใช้ดุลยพินิจผู้บริหารในการสร้างรายการทางธุรกิจ

และการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างกับความสามารถในการทำกำไรอนาคต.

วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิมพิศา พรหมมา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาหลักทรัพย์ที่เข้าจดทะเบียนครั้งแรก

ต่ำกว่ามูลค่าของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอของประเทศไทย.

วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภารตี รัศมี. (2554). Underpricing and Firm Quality: Evidence from Thai IPO Firms.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชนก สำเนียงลำ. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้นในการเสนอขายครั้งแรก (IPO Underpricing) ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2562). ข้อมูลบริษัทจดทะเบียน.

สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565 จาก https://www.sec.or.th.

Aharony, J., Lin C. & Loeb, M. (1993). Initial Public Offering, Accounting Choices and Earning Management. Cotemporary Accounting Research, 10(1), 61-81.

Akers, M. D., Giacomino, D. & Gissel, J. L. (2007). Earnings Management and Its Implications. Accounting Faculty Research and Publications. 8(77), 64-68.

Archambeault, S.D. (2000). The Relation Between Corporate Governance Strength and Fraudulent Financial Reporting. Doctor of Philosophy in the Culverhourse School of Accountancy. The University of Alabama

Beatty, P. R. (1989). Auditor Reputation and The Pricing of Initial Offering. The Accounting Review, 4(64), 693-709.

Chang, X. et al. (2008). Audit Quality, Auditor Compensation and IPO Underpricing. Accounting & Finance, 48(3), 337-518.

Hasan, T., Hadad, M. & Gorener, R. (2013). Value Relevance of Accounting Information and IPO Performance in Indonesia. Accounting and Finance Research, 2(1), 90.

Healy, P. M. & Wahlen, J. M. (1999). A Review of the Earnings Management Literature & Its Implications for Standard Setting. Accounting Horizons, 13(4), 365-383.

Kao, J. L., Wu, D. & Yang, Z. (2009). Regulations, Earning Management, and Post IPO-Performance: The Chinese Evidence. Journal of Banking and Finance, 33(1), 63-76.

Malatesta & E.Sefcik. (2000). Earning Management: IPO Valuation and Subsequent Performance. Journal of Accounting, Auditing & Finance October 2001, 16(4), 369-396

Mckee, T. E. (2005). What is Earnings Management? An Executive Perspective.

Ohio: Sage Publications.

Pagano, M., Panetta, F. & Zingales, L. (1998). Why Do Companies Go Public? An Empirical Analysis. Journal of the American Finance Association, 53(1), 27-64.

Shen, Z., Coakley, J. & Insterfjord, N. (2014). Earning Management and IPO Anomalies in China. Review of Quantitative Finance and Accounting, 42(1), 69.

Welch, I. (1989). Seasoned Offering, Imitation Costs and the Underpricing of Public Offerings. The Journal of Finance, 44, 421-449.

Yoon, S. & Miller, G. A. (2002). Earning Management of Seasoned Equity Offering Firms in Korea. The International Journal of Accounting, 37(1), 57-78.

Yoon, S., Miller, G. A. & Jiraporn, P. (2006). Earning Management Vehicles for Korean Firms.

Journal of International Financial Management and Accounting, 17, 85-109.

Zheng, S. X. & Stangeland, D. A. (2007). IPO Underpricing Firm Quality and Analyst Forecast. Financial Management, 36(2), 1-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30