ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมุมมอง ของผู้ตรวจสอบสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ปิ่นฤทัย เจียมทอง
  • ประนอม คำผา
  • อโณทัย หาระสาร

คำสำคัญ:

การควบคุมภายใน, คุณภาพรายงานการเงิน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการควบคุมภายใน 2) ศึกษาระดับคุณภาพรายงานการเงิน 3) ศึกษาอิทธิพลของการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) เปรียบเทียบคุณภาพรายงานการเงิน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (บัญชี) และพนักงานสมทบตรวจเงินแผ่นดิน (บัญชี) ในสังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยสถิติใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสถิติ t-test

       ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเห็นเกี่ยวกับการควบคุมภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมมีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับความเห็นเกี่ยวกับคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมมีความเห็นอยู่ในระดับมาก 3) การควบคุมภายใน ด้านกิจกรรมการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตามและประเมินผล มีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนของการควบคุมภายใน ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม มีอิทธิพลเชิงลบต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพรายงานทางการเงิน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพรายงานการเงินไม่แตกต่างกัน ในขณะที่อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพรายงานการเงินที่แตกต่างกันในทุกด้าน

Author Biographies

ปิ่นฤทัย เจียมทอง

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการควบคุมภายใน 2) ศึกษาระดับคุณภาพรายงานการเงิน 3) ศึกษาอิทธิพลของการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) เปรียบเทียบคุณภาพรายงานการเงิน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (บัญชี) และพนักงานสมทบตรวจเงินแผ่นดิน (บัญชี) ในสังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยสถิติใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสถิติ t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเห็นเกี่ยวกับการควบคุมภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมมีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับความเห็นเกี่ยวกับคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมมีความเห็นอยู่ในระดับมาก 3) การควบคุมภายใน ด้านกิจกรรมการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตามและประเมินผล มีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนของการควบคุมภายใน ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม มีอิทธิพลเชิงลบต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพรายงานทางการเงิน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพรายงานการเงินไม่แตกต่างกัน ในขณะที่อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพรายงานการเงินที่แตกต่างกันในทุกด้าน

ประนอม คำผา

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อโณทัย หาระสาร

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กระทรวงการคลัง. (2561). หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2564). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2564 จาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp.

กฤชาภรณ์ อนุพันธ์. (2560). คุณภาพรายงานทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมุมมองของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(3), 51-64.

จิตรลดา สีหามาตย์. (2561). ความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานทาง

การเงินของหน่วยงานภาครัฐ ในมุมมองของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

แพรวารี จูมด้วง. (2560). ผลกระทบของประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี. ใน สำนักวิจัยและบริการวิชาการ (บรรณาธิการ),

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 (2611 – 2623). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ภัทรา เตชะธนเศรษฐ์. (2564). ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในจังหวัดระยอง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(1), 52 – 59.

วุฒิสาร ตันไชย. (2564). การกระจายภารกิจหน้าที่ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ

ธันวาคม 2564 จาก http://www.local.moi.go.th/webst/botfam1.html.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์

การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(15),

– 126.

สิริพรรณ์ โกมลรัตน์มงคล. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของรัฐวิสาหกิจไทยในมุมมองของนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน ที่มีประสบการณ์ในการตรวจสอบ. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(1), 50 - 61.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2559). แนวทาง: การจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผล

การควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: บริษัท ซิสเต็ม โพร์ กราฟฟิคส์ จำกัด.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2565 จาก https://www.audit.go.th/ sites/default/files/files/reportaudit/ไฟล์%20PDFรายงานประจำปี%20งปม.62.pdf.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2564ก). รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565 จาก https://www.audit.go.th/ sites/default/files/files/reportaudit/ไฟล์รายงานประจำปี%20๖๓%20นำขึ้นเว็บไซต์.pdf.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2564ข). แนวทางการเสริมสร้างการรักษาวินัยการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เล่มที่1). กรุงเทพฯ: สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2565). รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565 จาก https://www.audit.go.th/

sites/default/files/files/reportaudit/รายงานประจำปี%20งปม.%20๒๕๖๔.pdf.

COSO. (2013). COSO Internal Control - Integrated Framework. Retrieved December 26, 2021, from https://www.coso.org/sitepages/internal-control.aspx?web=1.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30