ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของผู้บริโภค แต่ละเจเนอเรชัน: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมผู้บริโภค, ซื้อสินค้าออนไลน์, เจเนอเรชันบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของเจเนอเรชันของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร โดยวิธีเจาะจงจากกลุ่มผู้บริโภคในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา แยกตามช่วงอายุ เจเนอเรชัน โดยระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 492 คน โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า เจเนอเรชัน Z อายุ 18 - 25 ปี ร้อยละ 49.80 เจเนอเรชัน Y อายุ 26 - 41 ปี
ร้อยละ 20.93 เจเนอเรชัน X อายุ 42 - 57 ปี ร้อยละ 17.28 และเจเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์ อายุ 57 - 75 ปี
ร้อยละ 11.99 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของผู้บริโภคแต่ละ
เจเนอเรชัน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จากส่วนประสมทางการตลาด ด้านช่องทางออนไลน์ พบว่า
แอปพลิเคชันที่ใช้ง่าย สะดวก 24 ชั่วโมงสูงสุด ค่าเฉลี่ย 4.34 รองลงมาด้านราคา เลือกซื้อตามราคาที่ต้องการได้ ค่าเฉลี่ย 4.32 และปัจจัยแอปพลิเคชันมีช่องทางให้ชำระเงินและส่งของที่หลากหลาย ค่าเฉลี่ย 4.31 สำหรับด้านผลิตภัณฑ์ สินค้ามีความหลากหลายรูปแบบ ค่าเฉลี่ย 4.28 พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ จำนวนครั้งที่ซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านระบบออนไลน์ ใน 1 เดือน มากที่สุด 2 - 4 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 51.42 ช่องทางที่ซื้อสินค้า
ออนไลน์ มากที่สุด Shopee รองลงมา Lazada และ Facebook ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมากที่สุด แฟชั่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า รองลงมาอาหาร และเครื่องสำอาง ช่วงเวลาซื้อมากที่สุดเวลา 20.01 - 22.00 น. รองลงมาเวลา 17.01 - 20.00 น. เหตุผลที่ซื้อมากที่สุดสะดวก สบายในการสั่งซื้อ รองลงมาราคาไม่สูง และหลากหลายรูปแบบ ช่องทางชำระเงินออนไลน์ มากที่สุดเก็บปลายทาง รองลงมาโอนเงิน วิธีการส่งสินค้าออนไลน์ มากที่สุดบริษัทเอกชน เช่น Kerry Flash รองลงมาไปรษณีย์ไทย EMS ควรนำเสนอผลิตภัณฑ์และราคาที่หลากหลาย ทันสมัย รวดเร็ว
จัดลด แลก แจก แถม และบริการเพิ่มคุณค่าสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
References
กระทรวงแรงงาน. (2564). แรงงานสู้โควิด. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565 จาก https://ranong.mol.go.th/
news/กระทรวงแรงงาน.
งานบริหารงานบุคคลและนิติกร. (2565). ทะเบียนประวัติบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สืบค้นเมื่อ
เมษายน 2565 จาก https://lps.snru.ac.th.
จีรนันท์ สุธิตานนท์. (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของลูกค้ากลุ่มเจนเนอเรชั่นวายที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น.วารสารวิจัย มข.สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 8 (1), 164-175.
ธัญลักษณ์ สุมนานุสรณ์. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปกร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประกาศิต โกไศยกานนท์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดบริการและคุณภาพการบริการกับพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารตะวันตกของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปัญจพัฒน์ ประสิทธิ์เดชสกุล. (2563). พลิกโฉมธุรกิจหลังวิกฤติโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565 จาก https://thaipublica.org/2020/07/krungsri-research-covid-megatrends-disrupting-life-usiness.
ภัสสราณัฐ รวยธนาสมบัติ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในแต่ละเจเนอเรชัน. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาวินี คำสีแก้ว. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของ Generation X และ Generation Y ที่มีสถานะโสดในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มนัสชนก ไชยรัตน์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปช่วงสถานการณ์ COVID-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมประวิณ มันประเสริฐ. (2565). พลิกโฉมธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565. จาก https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ri-post-covid-19.
Cochran, W.G. (1963). Sampling Technique. (2nd ed.). John Wiley and Sons Inc: New York.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersy: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร