พฤติกรรมการใช้สื่อโฆษณาดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ผ่านระบบออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการใช้สื่อ, สื่อโฆษณาดิจิทัล, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อโฆษณาดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์พฤติกรรมการใช้สื่อโฆษณาดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ใช้ใน
การวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test, F-test (ANOVA) และ Pearson Product Moment Correlation
ผลการศึกษา พบว่า 1) พฤติกรรมการใช้สื่อโฆษณาดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่าน
ระบบออนไลน์ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ประเภทสื่อดิจิทัลประเภท Facebook วัตถุประสงค์ในการใช้สื่อดิจิทัล
คือ สั่งซื้อสินค้าและบริการ ระยะเวลาในการใช้สื่อโฆษณาดิจิทัล 5 - 6 ชั่วโมงต่อครั้ง ช่วงเวลา คือ เวลา 17.01 - 21.00 น. และผู้มีอิทธิพลต่อการใช้สื่อดิจิทัล คือ เพื่อน 2) ผลการเปรียบเทียบผู้บริโภคที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ไม่แตกต่างกัน และ 3) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้สื่อโฆษณาดิจิทัลมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดบุรีรัมย์ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในประเทศไทยปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์.
ธันยวิช วิเชียร์พันธ์. (2557). สื่อดิจิทัลกับการดำรงชีวิต. กรุงเทพฯ: วังอักษร.
นันธมน เดชประภัสสร (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางอินเทอร์เน็ต.
การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พนิดา สิมะโชคชัย. (2563). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัฐพล วุฒิศักดิสกุล. (2560). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจใช้บริการขนส่งออนไลน์
(Online Messengers) ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.
การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John wiley.
Locket, A. (2018). Online Marketing Strategies for Increasing Sales Revenues of Small Retail Businesses. Doctoral Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Doctor of Business Admimistration, Walden University.
Schittiman, L. & Kanuk, L. (1994). Consumer Behavior. New Jersey: Prentice Hall.
Yaipairote, N. (2015). Digital Marketing: Concept & Case Study. Nonthaburi: IDC Premier.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร