อิทธิพลของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำ ของนักท่องเที่ยวชาวจีน ในนครเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว, ความพึงพอใจในการท่องเที่ยว, การกลับมาเที่ยวซ้ำบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ความพึงพอใจ และการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวจีนในนครเฉิงตู 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและความพึงพอใจที่มีต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวจีนในนครเฉิงตู กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนทั้งชายและหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ขึ้นไป และอาศัยอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 385 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแบบออนไลน์ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 30 - 40 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา อาชีพพนักงานเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 2,000 - 3,000 หยวน จังหวัดหรือเมืองที่อาศัยอยู่ส่วนมาก คือ มณฑลเสฉวน จุดประสงค์ของการเดินทางมาเฉิงตู เพื่อมาประชุมหรือสัมมนา จำนวนครั้งที่เคยมา คือ 2 ครั้ง ระยะเวลาที่พักอยู่ในนครเฉิงตู คือ 2 - 3 วัน เดินทางมากับที่ทำงาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง คือ 500 - 1,000 หยวน เดินทางด้วยรถสาธารณะ และความรู้สึกเมื่อกลับมาเที่ยวอีกครั้งพบว่า ประทับใจมากกว่าครั้งก่อน และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะแนะนำให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวมาเที่ยวในนครเฉิงตู สถานที่ท่องเที่ยวที่ผู้ตอบแบบสอบถามเคยไปในนครเฉิงตู ได้แก่ ศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงแพนด้ายักษ์ วัดวูเฮา เขื่อนตูเจียงเอี้ยน และตรอกควานจ๋ายเซี่ยงจือ
ผลการศึกษาพบว่า จากวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1) ด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ความพึงพอใจ และการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวจีนในนครเฉิงตู โดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกปัจจัยในแต่ละปัจจัยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้ ด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ( = 3.60, S.D.= .45) ความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเฉิงตู มี ( = 3.58, S.D.= .50) ปัจจัยด้านการกลับมาเที่ยวซ้ำ ( = 3.60,
S.D.= .50) 2) อิทธิพลด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยวมีอิทธิพลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวจีนในนครเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ถ้านักท่องเที่ยวชาวจีนมีภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่ดีย่อมมีแนวโน้มกลับมาเที่ยวซ้ำในนครเฉิงตู สาธารณประชาชนจีนมากขึ้น (β = .283*, P < .01) และ อิทธิพลด้านความพึงพอใจใน
การท่องเที่ยวมีอิทธิพลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวจีนในนครเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนมีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวมาก ย่อมมีแนวโน้มกลับมาเที่ยวซ้ำในนครเฉิงตู
(β = .328*, P < .01)
References
สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329.
Chengdu Total Population Statistics. (2019). Chengdu Total Population Statistics Latest Chengdu Population Inflow and Outflow Proportion. Retrieved January 25, 2020, from https://baike.so.com/doc/2453672-2593720.html.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7th ed.).
New Jersey: Pearson Education International.
Hongguo, W. (2013). The Constituent Elements of Tourist Destination Image and Its Role in Tourists' Decision-making. Journal Contemporary Economy, 13(10), 1-4.
Min, X. (2020). Research on the Influence of Putuo Mountain Tourist Destination Image on Tourists' Willingness to Revisit. Zhejiang: Zhejiang Technology and Business University.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Reshef, D. N. et al. (2011). Detecting Novel Associations in Large Data Sets. Journal of Science, 334(6062), 1518-1524.
Robert, M. & Lars, N. (2010). Hedonic Price Equilibria, Stable Matching, and Optimal Transport: Equivalence, Topology, and Uniqueness. Economic Theory, 10(1), 2-6.
Ruobing, T. (2022) Investigation and Evaluation of Chengdu Tourism Image Based on Tourist Perception. Tourism Overview, 1(10), 275-294.
Wangwen, J. (2013). Chengdu Introduction. Retrieved October 15, 2022, from https://baike.baidu.com/item/%E6%88%90%E9%83%BD/128473?fr=aladdin.
Zhuang, L. F. (2020). Research on Influencing Factors of Tourism Economic Growth in Sichuan Province. Journal Chengdu University of Information Science and Technology. 20(1), 22-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร