การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจแบบมหภาค สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารผสมกัญชา

ผู้แต่ง

  • อัครพนธ์ เอี้ยวรัตนวดี

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมภายนอกแบบมหภาค, ผลิตภัณฑ์อาหารกัญชา

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจแบบมหภาคสำหรับ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารผสมกัญชา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจแบบมหภาค ผลการวิจัยทั้ง 6 ปัจจัย พบว่า ด้านการเมือง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กัญชาขับเคลื่อนในเชิงการแพทย์และเชิงพาณิชย์เป็นพืชเศรฐกิจใหม่ ด้านเศรษฐศาสตร์ การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากกัญชาสูงขึ้นเมื่อประชากรโลกเข้าใจถึงคุณสมบัติที่มีประโยชน์ในพืชกัญชามากกว่าโทษที่ได้รับ ด้านสังคม พบอุปสรรคในด้านมายาคติสำหรับการใช้กัญชาที่ยังมีมุมมองเกี่ยวกับยาเสพติดและความปลอดภัยในการใช้กัญชา ด้านเทคโนโลยี ความปลอดภัยทางข้อมูลส่วนบุคคลและธุรกรรมทางการเงินเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารผสมกัญชา ด้านสิ่งแวดล้อม มีมาตรฐานในระดับนานาชาติเป็นเครื่องมือที่เข้ามากำหนดความยั่งยืนและปลอดภัยในด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมกัญชา ด้านกฎหมาย มีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติยาเสพติดควบคุมภาพรวมของกัญชา ในระดับกฎกระทรวงมีกฎหมายที่ระบุถึงปริมาณสารสกัดกัญชาที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารได้อย่างชัดเจน

Author Biography

อัครพนธ์ เอี้ยวรัตนวดี

นักวิจัยอิสระ

References

กิตติพงศ์ เกิดผล และนาถนิรันดร์ จันทร์งาม. (2563). อุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้ากัญชาของ

ประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(36), 54-67.

กานดา เพชรเลิศ และวรรณวิภา พัวศิริ. (2560). ปัญหาการคุ้มครองสิทธิบัตรพืชที่มีฤทธิ์เสพติด: ศึกษากรณีพืชกระท่อม กัญชา และกัญชง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จิรสิน มีลาภ และคณะ. (2562). ความตั้งใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประกอบธุรกิจ. ใน อมรศักดิ์ สวัสดี, เจษฎา มิ่งฉาย และอภิรักษ์ สงรักษ์ (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการระดับชาติ:

วิชาการรับใช้สังคม ครั้งที่ 2, (2-6). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ชัยวัฒน์ สาวเจริญสุข. (2564). กัญชง: พืชเศรษฐกิจใหม่ โอกาสและความท้าทาย. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/hemp-2021.

ณัฐกฤษฏิ์ เหล่าเจริญ และสุธาทิพย์ ภู่บุบผาพันธ์. (2565). อิทธิพลของดัชนีความพร้อมด้านเทคโนโลยีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์สำหรับธุรกิจ SMEs. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 15(3), 142-153.

ฐากูร จุลินทร และคณะ (2565). ภาวะเศรษฐกิจมหภาคแนวโน้มทางการคลัง และปัจจัยทางเศรษฐกิจการคลัง เพื่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ

พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สํานักงบประมาณของรัฐสภา สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ดลวัฒน์ วงษ์จันทร และธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช. (2562). ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของพลเมือง

ยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(2), 18-30.

ธิติรส เจียรบรรจงกิจ. (2561). การลดทอนความเป็นอาชญากรรมของยาเสพติด: กรณีการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์. วารสารนิติพัฒน์ นิด้า, 7(2), 51-66.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2564). เศรษฐกิจกัญชา: ที่มาและที่ไป. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(2), 102-112.

พระราชบัญญัติอาหารเรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ พ.ศ. 2564. (2564). ราชกิจจานุเบกษา. 138 ตอนพิเศษ 198, 9-11.

พระราชบัญญัติอาหารเรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ พ.ศ. 2565. (2565). ราชกิจจานุเบกษา. 139 ตอนพิเศษ 251, 34.

มนทกานต์ โกรัมย์ และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2565). คุณลักษณะของแพลตฟอร์มออนไลน์และผลิตภัณฑ์กัญชากัญชงที่ผู้บริโภคเลือกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 27(2), 104-121.

ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และโชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. (2561). ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(1), 71-91.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). ไลฟ์สไตล์คนเมืองและกระแสสุขภาพมาแรง ดันแปรรูปเกษตรโต. สืบค้นเมื่อ

ตุลาคม 2563 จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge /article/KSMEAnalysis/Documents/Urban-Lifestyle_Healthy-Trend_Agricultural-Processing.pdf.

สานิตย์ แสงขาม. (2563). มายาคติและความหมายเรื่องพืชกัญชาในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค. (2565). ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565. จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57271.

อัครพนธ์ เอี้ยวรัตนวดี. (2563). วาทกรรม “กัญชา” ในสังคมไทย: กัญชายาเสพติด หรือ กัญชาการแพทย์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกชัย ศรีสุขชยะกุล. (2564). การเมืองเรื่องกัญชา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(2), 233-245.

Caulkins, J. P., Kilmer, B. & Kleiman, M. (2016). Marijuana Legalization: What Everyone Needs to Know. (2nd ed.). New York: Oxford University Press.

Decorte, T., Lenton, S. & Wilkins, C. (2020). Legalizing Cannabis Experience, Lessons and Scenarios. New York: Routledge.

Hicks, J. (2015). The Medicinal Power of Cannabis. New York: Sky Horse Publishing.

GLOBAL G.A.P. (2022). HEMP. Retrieved October 1, 2022, from https://www.globalgap.org/th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30