แนวทางการพัฒนาสำนักงานบัญชีในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข
  • กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์

คำสำคัญ:

สำนักงานบัญชีในยุคดิจิทัล, นักบัญชีในยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

       ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสำนักงานบัญชีจะต้องเปิดรับเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหรือทีมงานผ่านการประชุมออนไลน์ การทำงานผ่านโปรแกรมระบบบัญชีที่เป็นระบบ Cloud การใช้แอปพลิเคชันมาช่วยบริหารจัดการงานด้านต่าง ๆ สามารถแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการ วิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจในเชิงลึก โดยใช้ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ในการหาประเด็นของธุรกิจที่น่าสนใจ เพื่อตอบโจทย์ของธุรกิจได้ นักบัญชีจึงต้องพัฒนาตนเองให้สามารถใช้ระบบบัญชีดิจิทัลได้ มีความรู้ที่ถูกต้องชัดเจนในมาตรฐานการบัญชี เป็นนักวางระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลธุรกิจ ตลอดจนต้องพัฒนาทักษะ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพบัญชี มีวิสัยทัศน์ที่ดีมองไกลไปข้างหน้า กระตือรือร้น ขวนขวายหาประสบการณ์พัฒนาความรู้ใหม่ ๆ สามารถปรับตัวรับกับสิ่งใหม่ที่กําลังจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย 1) ทักษะด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน 2) ทักษะด้านการนําเสนองาน 3) ทักษะด้านจริยธรรม 4) ทักษะด้านการปรับตัว 5) ทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 6) ทักษะด้านความหลากหลายทางภาษา 7) ทักษะด้านการวิเคราะห์ 8) ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ และ 9) ทักษะด้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทำหน้าที่เป็นคู่คิดนักธุรกิจได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ สำนักงานบัญชีจะต้องมีความพร้อม และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน การให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร เพิ่มทักษะด้านดิจิทัลให้แก่นักบัญชีภายในสำนักงาน และพัฒนาทักษะใหม่ในอนาคต และต้องพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล และเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้งานบัญชีในระดับที่ส่งเสริมคุณค่า ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพขั้นสูงสุดในกระบวนการทำงานได้

Author Biographies

ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

References

กุสุมา ดําพิทักษ และนิตยา บุญทวี. (2563). ผลกระทบของระบบบัญชีดิจิทัลต่อนักบัญชีในองคกรธุรกิจ.

RMUTT Global Business and Economics Review, 15(2), 59-72.

นันทวรรณ บุญช่วย. (2563). ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยีกับการพัฒนานักบัญชีนวัตกร. วารสารบริหารธุรกิจ

และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1), 15-26.

บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์. (2560). กรมพัฒน์ฯ พลิกโฉมสำนักงานบัญชีไทยสู่ Digital Accounting Firm.

สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid= 469404627.

ประสัณห์ เชื้อพานิช. (2560). บทบาทนักบัญชีในยุค Digital Transformation. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, 72(2), 18.

ราชิต ไชยรัตน์. (2564). Digital Transformation สำหรับนักบัญชีในยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/135088.

ฤทัย อะโน. (2564). นักบัญชียุค Digital. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.spu.ac.th/

fac/account/th/content.php?cid=22655.

วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์. (2562). ก้าวทันมิติใหม่การบัญชียุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469414025.

วัทธยา พรพิพัฒน์กุล. (2563). นักบัญชีบริหารในยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/126283.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543. สืบค้นเมื่อ

พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/77007.

สิทธิชัย ทรัพย์แสนดี และดารณี เอื้อชนะจิต. (2564). การบริหารสำนักงานบัญชีดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีดิจิทัลในประเทศไทย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 125-139.

โสรดา เลิศอาภาจิตร์. (2563). กรมพัฒน์ฯ ปั้นสำนักงานบัญชีดิจิทัล ดันนำ AI-หุ่นยนต์ช่วยทำบัญชี.

สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564 จาก https://mgronline.com/business/detail/9630000001781.

อริยา สรศักดา และดารณี เอื้อชนะจิต. (2562). สมรรถนะของนักบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565 จาก http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/ Ariya.Sor.pdf.

Crystal Software Group. (2022). Digital Accounting. Retrieved September 27, 2022, from https://www.crystalsoftwaregroup.com/digital-accounting.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30