การประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นในการศึกษาปัจจัยที่สำคัญ ต่อระดับกลยุทธ์ของส่วนประสมการตลาด กรณีศึกษาการทำชุดข้าวยำ

ผู้แต่ง

  • กันต์ธมน สุขกระจ่าง
  • ธนะรัตน์ รัตนกูล
  • พิทยาภรณ์ พัฒโน

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น, ส่วนประสมการตลาด, ชุดข้าวยำ

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นในการศึกษาปัจจัยที่สำคัญต่อระดับกลยุทธ์ของส่วนประสมการตลาดกรณีศึกษาการทำชุดข้าวยำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าน้ำหนักของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
ในการวางแผนกลยุทธ์ของส่วนประสมการตลาด และเพื่อวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการวางแผนกลยุทธ์ของส่วนประสมการตลาด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการทำชุดข้าวยำ จำนวน
5 ราย พื้นที่จังหวัดปัตตานี ผู้วิจัยได้นำหลักการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่มีค่าน้ำหนักที่มากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านสถานที่ ตามลำดับ และสามารถนำผลการศึกษาเป็นแนวทางในการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดต่อไปได้

Author Biographies

กันต์ธมน สุขกระจ่าง

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ธนะรัตน์ รัตนกูล

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

พิทยาภรณ์ พัฒโน

คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2562). การตลาด Digital Marketing (Concept & Case Study).

(พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.

นัยนันท์ ศรีสารคาม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านเคเอฟซี (KFC) ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาวินี กุลเจริญ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการบริโภคอาหารของผู้บริโภคร้าน ยาโยอิ สาขาซีคอน บางแค. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

ยาวาเฮ แยนา และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ข้าวยำ. การประชุมวิชาการและเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5 (206-212). ขอนแก่น: วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย.

วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2542). AHP กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ: กราฟฟิคแอนด์ปริ้นติ้ง.

สาธิต เชื้ออยู่นาน. (2560). การวิจัยผสานวิธีแบบการสำรวจเป็นลำดับ: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(1), 1394-1404.

Darko, A. et al. (2019). Review of Application of Analytic Hierarchy Process (AHP) in Construction. International Journal of Construction Management, 19(5), 436-452.

Hanaysha, J. R., Al Shaikh, M. E. & Alzoubi, H. M. (2021). Importance of Marketing Mix Elements in Determining Consumer Purchase Decision in the Retail Market. International Journal of Service Science, Management, Engineering, and Technology (IJSSMET), 12(6),

-72.

Jain, V. et al. (2018). Supplier Selection Using Fuzzy AHP and TOPSIS: A Case Study in the Indian Automotive Industry. Neural Computing and Applications, 29(1), 555-564.

Laguna, E. et al. (1999). Multiple Criteria Decision Making (MCDM), Applied to the Modernization Plan of the Traditional Irrigation of Mula, Spain. ICID Journal, 48(3), 47-58.

Maisari, A. V., Nizar, R. & Yasid, H. (2022). Determining the Priority of the Marketing Mix of the Kuantan-II Fried Banana Agroindustry Business in the Sub District of Lima Pulauh Kota Pekanbabu Using APA Method. Journal Agrisep: Kajian Masalah Sosial Ekonomi Pertanian Dan Agribisnis, 21(1), 69-84.

Saaty, T. L. (1980). The Analytic Hierarchy Process. New York: McGraw-Hill.

Sari, H. & Nurhadi, D. A. (2019). Designing Marketing Strategy Based on Value from Clothing-Producing Companies Using the AHP and Delphi Methods. Journal Teknik Industry, 20(2), 191-203.

Thabit, T. & Raewf, M. (2018). The Evaluation of Marketing Mix Elements: A Case Study. International Journal of Social Sciences & Educational Studies, 4(4), 100-109.

Wang, Y., Xu, L. & Solangi, Y. A. (2020). Strategic Renewable Energy Resources Selection for Pakistan: Based on SWOT-Fuzzy AHP Approach. Sustainable Cities and Society, 52(2020), 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29