การเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่น ของผู้บริโภคในเขตนครชัยบุรินทร์ศรีอุบล

ผู้แต่ง

  • อนงค์วรรณ ชิณศรี
  • รัศมีเพ็ญ นาครินทร์

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ, นครชัยบุรินทร์ศรีอุบล

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นของผู้บริโภคในเขตนครชัยบุรินทร์ศรีอุบล มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นของผู้บริโภคในเขตนครชัยบุรินทร์ศรีอุบล สำรวจข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติในเขตนครชัยบุรินทร์ศรีอุบล การคำนวณโดยไม่ทราบจำนวนประชากรที่แท้จริง ระดับค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้น
ร้อยละ 5 ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 385 ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติทดสอบความแตกต่าง Independent Samples t-test การทดสอบช่องทางการซื้อ ประเภทของผ้า ประเภทผลิตภัณฑ์ จำนวนเงินซื้อ และ F-test ในการทดสอบผลิตภัณฑ์แปรรูป ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นของผู้บริโภคในเขตนครชัยบุรินทร์ศรีอุบล ผลการศึกษาพบว่าการตัดสินใจซื้อพิจารณาจากองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่น ผ่านช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ ออฟไลน์ ด้านรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ภาพรวม ด้านสัญลักษณ์ ประเภทผ้าฝ้าย ผ้าไหม ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านผลิตภัณฑ์ควบ ประเภทผ้าสีพื้นผ้าและมัดหมี่ ด้านรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ภาพรวมผู้บริโภคมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Author Biographies

อนงค์วรรณ ชิณศรี

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

รัศมีเพ็ญ นาครินทร์

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). ข้อมูลระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2565 จาก https://smce.doae.go.th.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2559). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล.

(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตรา ปั้นรูป เอกชัย ดวงใจ และณัฐวุฒิ ปั้นรูป. (2565). แนวทางการพัฒนาด้านการตลาดในการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้า มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 42(2), 145-160.

ชูศักดิ์ ยาทองไชย และวิไลรัตน์ ยาทองไชย. (2564). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ้าทอพื้นบ้านสินค้าระดับพรีเมี่ยมกลุ่มชาติพันธุ์เขมร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(1), 7-19.

ณฐภศา เดชานุเบกษา. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และรูปแบบเครื่องมือสื่อสารตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองบนตลาดออนไลน์ในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(2), 106-121.

ณัชชาภัทร เวียงแสง รุ่งนภา กิตติลาภ และสมพงษ์ จุ้ยศิริ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์

ผ้าไหมของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารธรรมทรรศน์, 16(3), 133-142.

ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์. (2564). การยกระดับผ้าฝ้ายทอมือด้วยนวัตกรรมสิ่งทอฉลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมืองจังหวัดหนองบัวลําภู. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิคสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 432-447.

ณัฐพงษ์ ศรีใจวงศ์ กรวิกพร นิมิต และรุ่งทรัพย์ ราษฎร์นิยม. (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผ้าฝ้ายปั่นมือ ย้อมสี: กรณีศึกษากลุ่มผ้าฝ้ายปั่นมือย้อมสีธรรมชาติตูบแก้วมาบ้านนาเดา อำเภอเสริมงาม จังหวัด ลำปาง. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(1), 71-84.

ดวงฤดี อุทัยหอม และคณะ. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอล่องมุดจังหวัดสงขลา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(2), 310-324.

ธันยชนก ปะวะละ และนลินี หิมพงษ์. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทรงเครื่องของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลขนวน อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้ สมัยใหม่, 5(5), 310-324.

นริสรา ลอยฟ้า. (2020). การเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มช่องทางการตลาดผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมลายลูกแก้วตำบลนิคมพัฒนา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการ พัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(1), 214-226.

มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2566). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อ

ผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอร่มไทร จังหวัดสงขลา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(2), 425-441.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2560). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือในเขตอำเภอเมือง

จังหวัดเชียงใหม่นัยยะเพื่อการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดตามความต้องการของผู้ซื้อ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้า มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(1), 26-37.

ศศิธร แตงแจ้ง อังคณา ขันตรีจิตรานนท์ และนฤมล ศราธพันธุ์. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผ้าทอมือบ้านป่าแดงของครูและเจ้าหน้าที่ของรัฐจังหวัดพิจิตร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(3), 103-109.

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรมสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2562). สถานการณ์อุตสาหกรรม

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2565 จาก https://www.thaitextile.org/th/

insign/detail.1530.1.0.html.

อวยพร พานิช. (2563). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลการโฆษณาและการตัดสินใจซื้อผ้าไทยบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 13(1), 71-83.

De Vries, L., Gensler, S. & Leeflang, P. S. (2012). Popularity of Brand Posts on Brand Fan Pages: An Investigation of The Effects of Social Media Marketing. Journal of Interactive Marketing, 26(2), 83-91.

Hollensen, S. & Opresnik, M. O. (2018). Marketing: Principles and Practice. Lubeck: Opresnik Management Consulting.

Philip, K. & Armstrong, G. (2018). Principles of Marketing. (17th ed.). New Jersey: Pearson

Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29