การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าชุมชนบ้านปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • บุษยมาส ชื่นเย็น
  • อุมารินทร์ ราตรี
  • จตุพร จันทารัมย์
  • โชฒกามาศ พลศรี

คำสำคัญ:

บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านปะอาว, จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าชุมชน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าชุมชน และ3) เพื่อนำเสนอรูปแบบบรรจุภัณฑ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าชุมชนบ้านปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานวิจัย
เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศึกษาแนวคิดอัตลักษณ์ของชุมชน และการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นกรอบการวิจัย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก 50 คน (สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ตัวแทนสมาชิก อาจารย์ และนักศึกษา) นำเสนอเนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าชุมชน ได้แก่ ไข่เค็ม และผ้าไหม มุ่งให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์สิ่งแวดล้อม โดยผลิตภัณฑ์
ไข่เค็มยังเป็นถุงพลาสติกสีใส เนื่องจากความสะดวก และประหยัดต้นทุน การจำหน่ายเฉพาะในชุมชนหากใช้
บรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และส่งผลให้การจัดจำหน่ายไข่เค็มทำได้ยาก ส่วนผ้าไหมยังไม่มี
บรรจุภัณฑ์แต่มีแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ถุงกระดาษเพื่อจัดจำหน่าย 2) การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าชุมชน 3 ด้าน ได้แก่บรรจุภัณฑ์ ตราสินค้า และการแสดงข้อมูลบนฉลาก และ3) รูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับชุมชน ควรใช้สัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ชุมชน ประกอบด้วยไข่เค็ม ควรใช้สัญลักษณ์รูปไข่ และมีสโลแกนว่า “อร่อยเช้า อร่อยเย็น” ผ้าไหม ควรใช้ชื่อ “ผ้าทอบ้านทุ่งนาเพียง” และมีสโลแกนว่า “รักผมเท่าไหน รักไหม เท่านั้น” โดยผลิตภัณฑ์มีกระบวนการผลิตด้วยมืออันเป็นเอกลักษณ์การผลิตของชุมชนบ้านปะอาว อีกทั้งปัญหาของกลุ่มผู้จัดจำหน่าย คือการขาดเงินทุน
ดังนั้นควรมีหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนงบประมาณในการลงทุน รวมทั้งชุมชนหรือหน่วยงานได้กำกับ ติดตาม ประเมินผล และมีการพัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

Author Biographies

บุษยมาส ชื่นเย็น

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อุมารินทร์ ราตรี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

จตุพร จันทารัมย์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

โชฒกามาศ พลศรี

คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิราวรรณ สมหวัง และคณะ. (2565). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์สําหรับผลิตภัณฑ์ปลาร้า 5 วัน

ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและการถนอมอาหารบ้านทุ่งสาธารณ์ อําเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี.

วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 6(1), 36-51.

เจนจิรา เงินจันทร์ และคณะ. (2566). การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากบัวบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นตําบลทับกฤช อําเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 189-204.

ดารณี ธัญญสิริ. (2564). การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้า OTOP. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อ

การพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(4), 31-40.

บุษยมาส ชื่นเย็น. (2562). การศึกษาการรับรู้ของผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลเมืองอุบลราขธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย มหาวิทยาลัย

ราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 121-135.

พิพัฒน์ ประจญศานต์. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรกลุ่มข้าวภูเขาไฟบ้านโคกเมืองตำบลจรเข้มากอำเภอประโคนชัยเพื่อพัฒนาชุมชนรองรับภัยแล้งภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของ

จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(2), 19-31.

แพรภัทร ยอดแก้ว. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอตีนจกเชิงสร้างสรรค์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มชาติพันธุ์

ลาวครั่งในจังหวัดนครปฐมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(01), 14-30.

สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง. (2566). ระบบสถิติทางทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566

จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องใบฏีกาณภัทร เพื๊อกหึ่ว ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา และอุบล วุฒิพรโสภณ. (2564). การพัฒนารูปแบบบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(2), 156-166.

อนันธิตรา ดอนบรรเทา และคณะ. (2566). การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านท่าช้างตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 29(1), 180-190.

Naijarun, K., Meekrua-iam, W. & Rodkaew, A. (2022). Storytelling and Folk Wisdom in Palm Sugar Packaging Development of Ban Yang Subdistrict, Wat Bot, Phitsanulok. Wiwitwannasan Journal of Language and Culture, 6(2), 137-154.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29