ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการกำกับดูแลกิจการ ลักษณะบริษัทและ ประเภทสำนักงานสอบบัญชีกับระยะเวลาการออกรายงานของผู้สอบบัญชี
คำสำคัญ:
การกำกับดูแลกิจการ, คณะกรรมการบริษัท, ประเภทสำนักงานสอบบัญชี, ระยะเวลาการออก, รายงานของผู้สอบบัญชีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ ลักษณะบริษัทและประเภทสำนักงานสอบบัญชีกับระยะเวลาการออกรายงานของผู้สอบบัญชี และ 2) ศึกษาอิทธิพลของประเภทสำนักงานสอบบัญชีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับระยะเวลาการออกรายงานของผู้สอบบัญชี โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิใน ปี พ.ศ. 2561-2562 และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าการ
ควบรวมตำแหน่งของกรรมการบริษัท ผลการดำเนินงานและจำนวนบริษัทย่อยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระยะเวลาการออกรายงานของผู้สอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าการที่กรรมการบริษัทมีอำนาจในการบริหารงาน บริษัทมีผลการดำเนินงานขาดทุน รวมถึงการมีบริษัทย่อยจำนวนมากจะบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นหรือส่งผลให้ผู้ตรวจสอบบัญชีทำงานได้ยาก จึงใช้ระยะเวลาตรวจสอบนานขึ้น ในขณะที่ ประเภทสำนักงานสอบบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระยะเวลาการออกรายงานของผู้สอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่ให้บริการตรวจสอบบัญชีอย่างมืออาชีพ บุคลากรมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบ ดังนั้น จึงสามารถตรวจสอบงบการเงินได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรปรับพบว่าประเภทสำนักงานสอบบัญชีมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นอิสระของคณะกรรมการบริษัทกับระยะเวลาการออกรายงานของผู้สอบบัญชี
References
เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย อนุวัฒน์ ภักดี และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2562) ผลกระทบของคะแนนการกำกับดูแลกิจการและคุณลักษณะคณะกรรมการบริษัทต่อความทันเวลาของงบการเงิน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 15(48), 5-30.
ชิดชนก มากเชื้อ บุษบรรณณ์ เหลี่ยวรุ่งเรือง และกมลพร วรรณชาติ. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าธรรมเนียมตรวจสอบบัญชี. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ธันฐภัทร์ วิวัฒน์บุญโชค. (2561). ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการกำกับดูแลบริษัทกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภาสุข นิธิบันดาลเสรี และคณะ. (2562). ผลกระทบเชิงกำกับของสำนักงานสอบบัญชีที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลบริษัทที่ดีกับระยะเวลาที่ใช้ในการออกรายงานการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 8(3), 22-36.
ภัทรา หลวงนา. (2562). ระยะเวลาของรายงานผู้สอบบัญชีก่อนและหลังการปฏิบัติตามรายงานรูปแบบใหม่การระบุเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นนทวรรณ ยมจินดา และคณะ. (2562). ความเสี่ยงในการสอบบัญชีกับระยะเวลาการออกรายงานผู้สอบบัญชี: กรณีรายงานการสอบบัญชีที่มีการระบุถึงเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ. วารสารวิชาชีพบัญชี, 15(48), 73-88.
พจนาถ ตะละศักดิ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเสี่ยงกับระยะเวลาที่ผู้สอบบัญชีใช้ในการออกรายงานผู้สอบบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
พรสุดา หวังประเสริฐกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงในการสอบบัญชีและระยะเวลาการออกรายงานผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนา ชินโชติอังกูร. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวดี สัตยารักษ์วิทย์ และอัญชลี พิพัฒนเสริญ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับระยะเวลาที่ใช้ในการออกรายงานการสอบบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี, 8(22), 65-81.
Egbunike, P. A. & Asuzu, P. (2020). Audit fees and audit report lag. EPRA International Journal of Research and Development (IJRD), 5(7), 181-187.
Ezat, A. & El-Masry, A. (2008). The Impact of Corporate Governance on the Timeliness of Corporate Internet Reporting by Egyptian Listed Companies. Managerial Finance, 34(12), 848–867.
Harjoto, M. A., Laksmana, I. & Lee, R. (2015). The Impact of Demographic Characteristics of CEOs and Directors on Audit Fees and Audit dDelay. Managerial Auditing Journal, 30(8),
-997.
Hair, J. F. et. al. (2010). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Saddle River.
Husnin, A. I., Nawawi, A. & Salin, A. S. (2013). Corporate Governance Structure and Its Relationship With Audit Fee-evidence from Malaysian Public Listed Companies. Asian Social Science, 9, 305-317.
Jensen, M. C., & Meckling, W. H. (1976). Theory of the firm: Managerial Behavior, Agency Costs and Ownership Structure. Journal of Financial Economics, 3(4), 305-360.
Mohamad Naimi, M. N., Rohami, S. & Wan-Hussin, W. N. (2010). Corporate Governance and Audit Report Lag in Malaysia. Asian Academy of Management Journal of Accounting and Finance, 6(2), 57–84.
Washburn, M. (2017). The Effect of Auditing Standard no. 5 on Audit Delay and Audit Fees. Doctoral’s Dissertation, Degree of Business Administration, H. Wayne Huizenga College of Business and Entrepreneurship, Nova Southeastern University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร